มารัง เนื้อภายในคล้ายขนุน แต่ยวงใหญ่กว่าและเป็นสีขาว มีรสหวาน

มารัง

ชื่ออื่นๆ : เปอดาไลเขียว, มาดัง, ตารับ, เตอรับ, หรือตีมาดัง

ต้นกำเนิด : ปรเะเทศมาเลเซีย บรูไน และอินโดนีเซีย บริเวณเกาะบอร์เนียว และประเทศฟิลิปปินส์

ชื่อสามัญ :

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Artocarpus odoratissimus

ชื่อวงศ์ : Moraceae

ลักษณะของมารัง

เป็นพืชพื้นเมืองในเกาะบอร์เนียว เกาะปาลาวัน และเกาะมินดาเนา ในฟิลิปปินส์พบกระจายพันธุ์ในมินโดโร เกาะมินดาเนา บาซิลัน และคาบสมุทรซูลู ในเกาะบอร์เนียว พบเป็นพืชป่ามีลักษณะใกล้เคียงกับ ขนุน จำปาดะและ สาเก เป็นต้นไม้ที่เขียวชอุ่มตลอดปีซึ่งเติบโตสูงถึง 25 เมตร ใบมี 16-50 เซนติเมตรยาว 11-28 เซนติเมตรและกว้างคล้ายกับสาเก  ใบมีรอยหยักหรือร่องลึก ผลมีลักษณะกลมถึงรูปขอบขนาน ยาว 15-20 ซม. และกว้าง 13 ซม. และหนักประมาณ 1 กก. เปลือกหนา ผลของมารังขนาดใหญ่เนื้อรสหวาน รับประทานได้ โดยจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองแก่เมื่อสุก เนื้อภายในผลคล้ายขนุน แต่ยวงใหญ่กว่าและเป็นสีขาว

ต้นมารัง
ต้นมารัง ไม้ต้น กว้างคล้ายกับสาเก
ผลมารัง
ผลมารัง ผลของมารังขนาดใหญ่

การขยายพันธุ์ของมารัง

ใช้เมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่มารังต้องการ

ประโยชน์ของมารัง

  • ปลูกไว้ตามรั้วให้ร่มเงา
  • ผลรับประทานสด หรือใช้ทำเค้ก แต่ต้องรับประทานทันทีหลังจากผ่าเพราะจะเสียรสชาติและเกิดสีดำเร็วมาก
  • เมล็ดรับประทานได้ โดยนำไปต้มหรืออบ
  • ผลอ่อนต้มในกะทิรับประทาน ใช้เป็นผัก
ผลมารัง
ผลมารัง เนื้อผลเป็นสีขาว เนื้อรสหวาน

สรรพคุณทางยาของมารัง

คุณค่าทางโภชนาการของมารัง

การแปรรูปของมารัง

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11083&SystemType=BEDO
https://th.wikipedia.org
https://www.flickr.com

Add a Comment