ยางโอน
ชื่ออื่นๆ : ขะมอบ (จันทบุรี) ขี้ซาก, อีโด่ (เลย) ขี้แฮด (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน) ตองห่ออ้อย, ยางพาย (เชียงใหม่) ตองเหลือง (ลำปาง, เพชรบูรณ์) ยางดง (ราชบุรี) ยางโดน (ขอนแก่น, อุตรดิตถ์, แพร่) ยางอึ้ง (พิษณุโลก, สุโขทัย) ยางโอน (พิจิตร, พิษณุโลก) สามเต้า (ลำปาง)
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ :
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Polyalthia viridis Craib
ชื่อวงศ์ : ANNONACEAE
ลักษณะของยางโอน
ต้น ไม้ต้นไม่ผลัดใบ สูงถึง 15 เมตร ลำต้นเปลาตรง เปลือกหนาสีเทาอมน้ำตาล กิ่งอ่อนมีขนประปราย
ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนานหรือรูปรีแกมขอบขนาน ปลายแหลมหรือทู่โคนมนหรือเว้าเล็กน้อย แผ่นใบค่อนข้างหนา ผิวใบเกลี้ยงยกเว้นบริเวณเส้นกลางใบและเส้นแขนงใบ มีเส้นขั้นบันได

ดอก ดอกออกเป็นดอกเดี่ยวหรือเป็นช่อกระจุก ตามกิ่งเหนือรอยแผลใบ ก้านดอกย่อยมีขน กลีบเลี้ยง 3 กลีบ รูปกลม ผิวด้านนอกมีขน กลีบดอกสีเขียว 6 กลีบ รูปขอบขนาน เรียงเป็น ชั้นๆ ละ 3 กลีบ กลีบชั้นนอกมีขนาดเล็กกว่ากลีบชั้นใน ผิวเกลี้ยง เกสรเพศผู้จำนวนมากล้อมรอบเกสรเพศเมียที่มีอยุ่ลหายชั้นอยู่เหนือวงกลีบ ทั้งเกสรเพศผู้และเกสรเพศเมียอัดแน่นเป็นก้อนกลม ออกดอกเดือนกุมภาพันธ์–มีนาคม
ผล ผลเป็นกลุ่มรูปกลมแกมขอบขนาน ก้านผลยาวติดอยู่บนแกนตุ้มผล ผิวเกลี้ยง ผลแก่สีเหลืองอมส้ม มี 1 เมล็ด ผลแก่เดือนมีนาคม–เมษายน

การขยายพันธุ์ของยางโอน
การตอนกิ่ง
กระจายพันธุ์ในป่าดิบแล้งและป่าเบญจพรรณทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงใต้ ที่ความสูงจากระดับทะเลปานกลาง 100–500 ม.
ธาตุอาหารหลักที่ยางโอนต้องการ
ขึ้นได้ทุกสภาพดิน ความชื้นปานกลาง แสงแดดเต็มวัน
ประโยชน์ของยางโอน
- เนื้อไม้สีขาวปนเหลืองอ่อน เลื่อยไสกบตบแต่งได้ง่าย
- นิยมใช้ทำสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ภายในร่ม
สรรพคุณทางยาของยางโอน
- ราก ต้มน้ำดื่ม แก้ปวดเมื่อย
คุณค่าทางโภชนาการของยางโอน
การแปรรูปของยางโอน
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.forest.go.th
ภาพประกอบ : www.flickr.com, www.teaoilcenter.org
เรียบเรียงข้อมูลโดย : เกษตรตำบล.คอม
รากใช้ต้มดื่มแก้ปวดเมื่อย
ใช้ทำสิ่งปลูกสร้างในร่ม