รักทะเล
ชื่ออื่นๆ : บงบ๊ง (มาเลย์-ภูเก็ต) บ่งบง (ภาคใต้) รักทะเล (ชุมพร) โหรา (ตราด)
ต้นกำเนิด : มาดากัสการ์ อินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตลอดจนถึงออสเตรเลีย
ชื่อสามัญ : Half Flower, Beach Cabbage, Beach Naupaka และ Sea Lettuce
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Scaevola taccada Roxb.
ชื่อวงศ์ : Goodeniaceae
ลักษณะของรักทะเล
ต้น : ไม้พุ่ม อาจสูงได้ถึง 7 ม. แตกกิ่งหนาแน่น
ใบ : มีขนสีขาวคล้ายไหมเป็นกระจุกตามซอกใบ ใบเรียงเวียนชิดกันตอนปลายกิ่ง รูปใบพายแกมรูปไข่กลับ ยาว 12–23 ซม. ปลายกลม โคนสอบเรียวจรดลำต้น ขอบเรียบ จักฟันเลื่อยห่างๆ หรือจักมนช่วงปลายกลีบ แผ่นใบเกลี้ยงหรือมีขนกำมะหยี่ ช่อดอกแบบช่อกระจุก ยาว 2–4 ซม. ก้านช่อยาว 0.5–1 ซม. ใบประดับรูปสามเหลี่ยมขนาดเล็ก หลอดกลีบเลี้ยงเรียวแคบ ยาว 2–5 มม. ติดทน
ดอก : ดอกสีขาวมีสีม่วงอ่อนแซม โคนหลอดกลีบมีขนหนาแน่น ดอกสมมาตรด้านข้าง แยกจรดโคนด้านเดียว กลีบรูปใบพาย ยาว 1–2 ซม. ขอบบางเป็นคลื่น เกสรเพศผู้ 5 อัน ก้านชูอับเรณูสั้น รูปเส้นด้าย บิดงอรอบก้านเกสรเพศเมีย ก้านเกสรเพศเมียโค้งงอ โคนและปลายมีขนสั้นนุ่ม รังไข่ใต้วงกลีบ
ผล : ผลสด เส้นผ่านศูนย์กลาง 1–1.5 ซม. สุกสีขาวครีม มี 1–2 เมล็ด

การขยายพันธุ์ของรักทะเล
การเพาะเมล็ด, การปักชำกิ่ง
พบขึ้นทั่วไปตามชายหาด หาดหิน โขดหิน ชายฝั่งทะเลทั้งอ่าวไทยและฝั่งอันดามัน ตามบริเวณริมฝั่งแม่น้ำลำคลอง หรือตามแนวหลังป่าชายเลน
ธาตุอาหารหลักที่รักทะเลต้องการ
ประโยชน์ของรักทะเล
- ปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับทั่วไป
- มีสรรพคุณด้านสมุนไพรหลายอย่าง มีฤทธิ์ต้านเชื้อไวรัส เชื้อรา และแบคทีเรีย
สรรพคุณทางยาของรักทะเล
- ราก ใช้แก้พิษอาหารทะเล
- ราก ใช้เป็นยาแก้เหน็บชา
- ผล มีสรรพคุณช่วยทำให้ประจำเดือนของสตรีมาเป็นปกติ
- ใบ ตำพอกแก้ปวดบวม ใช้เป็นยาสูบได้

คุณค่าทางโภชนาการของรักทะเล
การแปรรูปของรักทะเล
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9878&SystemType=BEDO
www.flickr.com