พวงตุ้มหู
ชื่ออื่นๆ : ตีนเป็ด, เข้าพรรษา (น่าน) ตุ้มไก่ (เลย) พวงตุ้ม หรือ พวงตุ้มหู (นครราชสีมา)
ต้นกำเนิด : พบตามป่าเบญจพรรณ ป่าชื้นทั่วไป ชอบที่ร่ม
ชื่อสามัญ :
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ardisia pilosa H.R.Fletcher
ชื่อวงศ์ : MYRSINACEAE
ลักษณะต้นพวงตุ้มหู
ต้นพวงตุ้มหู ไม้พุ่มสูง 50-100 เซนติเมตร ลำต้นตั้งตรง เปลือกต้นและก้านใบมีสีแดง ผิวเรียบ แตกกิ่งก้านน้อยช่วงปลายยอด

ใบพวงตุ้มหู เป็นใบเดี่ยว เรียงแบบสลับเวียน รูปรี กว้าง 1-3 เซนติเมตร ยาว 2.5-7 เซนติเมตร โคนใบสอบหรือมน ปลายใบกลมมน ขอบใบหยักตื้น ผิวใบด้านบนมีจุดตามแผ่นใบ ลักษณะใบค่อนข้างอวบน้ำ หลังใบและท้องใบเรียบ ก้านใบยาว 3-10 มิลลิเมตร มีขน

ดอกพวงตุ้มหู ออกเป็นช่อตามง่ามใบ ช่อละหลายดอก ก้านดอกยาวเกือบเท่ากัน ลักษณะคล้ายซี่ร่มแต่หัวห้อยลง กลีบรองกลีบดอก 4-5 กลีบ รูปไข่กว้าง กลีบดอก 4-5 กลีบ โคนเชื่อมติดกัน รูปไข่ กลีบซ้อนกันและมักจะบิดเวียน สีชมพูอมม่วง ดอกบานเต็มที่กว้าง 5-10 มิลลิเมตร เกสรเพศผู้ก้านเกสรสั้น เรียงชิดติดกันมี 5 อัน รังไข่กลม ส่วนปลายเป็นท่อยาว ออกดอกราวเดือนกรกฎาคมถึงกันยายน

ผลพวงตุ้มหู รูปกลม ผิวมัน มีจุดระปราย ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีแดงสด กว้างประมาณ 5-7 มิลลิเมตร

การขยายพันธุ์ของพวงตุ้มหู
การเพาะเมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่พวงตุ้มหูต้องการ
ประโยชน์ของพวงตุ้มหู
- ผล เป็นอาหารของสัตว์ป่า และนก
- ลำต้น ใช้ทำขอบเครื่องจักสาน
- ต้นพวงตุ้มหู สามารถนำมาใช้ปลูกเป็นไม้ประดับได้
สรรพคุณของพวงตุ้มหู
ตำรายาไทย
- ราก เป็นยาแก้ไข้
- ใบ เป็นยาแก้ไอ
องค์ประกอบทางเคมี
ใบและกิ่ง พบ protocatechuic acid, p-coumarinic acid, gallic acid, catechin, quercetin
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
- ใบและกิ่ง มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และลดปริมาณการสร้างสารอนุมูลอิสระไนตริกออกไซด์ ในหลอดทดลอง
คุณค่าทางโภชนาการของพวงตุ้มหู
การแปรรูปพวงตุ้มหู
สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับการเกษตร เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ตีนเป็ดนี่ชื่อทางภาคใต้หรือเปล่า ใครรู้บ้าง