ลักษณะประจำวงศ์
วงเล็บครุฑ ARALIACEAE ลักษณะวงศ์เป็นไม้ล้มลุก ไม้พุ่ม หรือไม้ต้น หูใบมักเป็นลิ้นบางๆ อยู่ที่โคนก้านใบ ใบเดี่ยว ขอบจักคล้ายขนนกหรือใบประกอบแบบนิ้วมือ ติดเวียนสลับ ดอก ออกเป็นช่อแบบซี่ร่ม ท่อกลีบเลี้ยงเชื่อมติดกับรังไข่ ปลายท่อเป็นซี่เล็กๆ กลีบดอกแยกจากกัน หลุดร่วงง่าย มีจานฐานดอกขนาดใหญ่ รังไข่ติดใต้วงกลีบ ผล มีเนื้อหลายเมล็ด หรือเมล็ดแข็งเมล็ดเดียว

ลักษณะเด่นของวงศ์
ช่อดอกมักออกเป็นช่อแบบซี่ร่มที่ปลายยอด กลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีอย่างละ 5 กลีบ ก้านเกสรเพศเมียมีจำนวนเท่ากับช่องในรังไข่ แยกจากกันหรือเชื่อมติดกันแต่ละช่อมีไข่อ่อน 1 หน่วย
การกระจายพันธุ์
ในเขตอบอุ่นและเขตร้อน ในประเทศไทยมีประมาณ 17 สกุล ส่วนมากอยู่ใน ปาดิบเขาและป่าดิบชื้น เช่น
- สกุล Aralia ใบประกอบแบบขนนก 2-3 ชั้น ก้านเกสรเพศเมียเด่นชัด เช่น คันหามเสือ Aralia montana Blume
- สกุล Brassaiopsis ใบมีขนาดใหญ่ จักลึกแบบนิ้วมือ เช่น ผักหนามช้าง Brassaiopsis hainla (Buch.-Ham. ex D. Don) Seem.
- สกุล Eleutherococcus ไม้ต้นกึ่งไม้พุ่ม มีหนาม มี 1 ชนิด คือ ผักแปม Eleutherococcus trifoliatus (L.) S. Y. Hu พบที่ภาคเหนือ
- สกุล Polyscias ไม้ต้น ไม้พุ่ม ใบประกอบแบบขนนกเป็นพืชมาจากต่างประเทศ (exotic plant) เช่น เล็บครุฑ Polyscias fruticosa (L.) Harms
- สกุล Schefflera ไม้ต้น ไม้พุ่ม ไม้อิงอาศัย ใบประกอบแบบนิ้วมือ ใบย่อย 5-7 ใบ เนื้อใบหนามัน ปลายใบมนหรือกลม พบในป่าที่ต่ำ และป่าดิบเขาชื้น มีทั้งในแถบเขตร้อนนและเขตอบอุ่น เช่น นิ้วมือพระนารายณ์ Schefflera heptaphylla (L.) Frodin
- สกุล Trevesia ใบมีขนาดใหญ่ จักลึกแบบนิ้วมือที่โคนแต่ละพูมีเนื้อใบเชื่อมติดกันเป็นพืด เช่น ต้างหลวง Trevesia palmata (Roxb. ex Lindl.) Vis.

ประโยชน์พืช
พืชในวงศ์นี้ที่ใบกินได้ได้แก่ พวกเล็บครุฑ Polyscias ที่เป็นไม้ประดับ ได้แก่ Polyscias บางชนิด และ Schefflera ที่เป็นพืชสมุนไพร ได้แก่ พวกโสม Panax (Gins-eng)
สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับการเกษตร เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.dnp.go.th
ภาพประกอบ : www.flickr.com
วงศ์เล็บครุฑ มีทั้งไม้ประดับและพืชสมุนไพร