ลำไย
ชื่ออื่นๆ : บ่าลำไย (ภาษาพื้นบ้านภาคเหนือ)
ต้นกำเนิด : เขตร้อนและกึ่งร้อนของเอเชีย
ชื่อสามัญ : ลำไย
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dimocarpus longan
ชื่อวงศ์ : Sapindaceae
ลักษณะของลำไย
ต้น เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สูง 9 – 12 เมตร เรือนยอดกลมและเป็นพุ่มทึบเปลือกขรุขระ สีน้ำตาลหรือสีเทา กิ่งค่อนข้างเปราะ เนื้อไม้ มีสีแดงและแข็ง
ใบ เป็นใบประกอบ มีใบย่อย 2 – 5 คู่ ออกตรงข้ามหรือสลับกัน รูปร่างใบเรียวยาว สีเขียวเข้มเป็นมัน ขอบใบเป็นคลื่นเล็กน้อย
ดอก ดอกเป็นช่อแบบพานิเคิล (panicle) มีขนาดเล็ก ดอกเกิดที่ปลายยอด ดอกมีสีครีมหรือขาวปนเหลือง เป็นดอกสมบูรณ์ เพศในช่อดอกเดียว กัน และมีดอกเพศผู้ดอกเพศเมีย ออกดอกเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม
ผล ผลมีรูปร่างค่อนข้างกลม เปลือกบางสีน้ำตาลอ่อน เนื้อมีสีขาวขุ่น รสหอมหวาน ให้ผลในช่วงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม
เมล็ด เมล็ด ผลหนึ่งๆ มีเมล็ดเดียว รูปร่างกลม สีดำเข้มเป็นมัน ด้านบนของเมล็ดมีเนื้อเยื่อติดเป็นวงขาว ๆ ทำให้มีลักษณะคล้ายลูกตา


การขยายพันธุ์ของลำไย
การเพาะเมล็ด
พันธุ์ลำไย
ลำไยปลูกในหลายประเทศที่สำคัญคือประเทศจีนมีการปลูกลำไยถึง 26 พันธุ์ คือพันธุ์ที่ปลูกในมณฑล กวางตุ้ง 12 สายพันธุ์ปลูกในประเทศไต้หวันอีก 15 สายพันธุ์ปลูกในสหรัฐอเมริกามี 1 สายพันธุ์คือ พันธุ์โคฮาลาพันธุ์ลำไยในประเทศไทย จำแนกออกตามลักษณะผลเนื้อเมล็ดและรสชาติแบ่งได้ 5 พวก คือ
- ลำไยกะโหลก เป็นพันธุ์ลำไยที่ให้ผลขนาดใหญ่มีเนื้อหนารสหวานมีหลายสายพันธุ์ คือ
– สีชมพู ผลใหญ่ เนื้อหนา เมล็ดเล็ก เนื้อมีสีชมพูเรื่อๆ รสดีมากที่สุด
– ตลับนาค ผลใหญ่ เนื้อหนา เมล็ดเล็ก หวานกรอบแห้ง เปลือกบาง
– เบี้ยวเขียว หรืออีเขียว ผลใหญ่กลมเบี้ยว เนื้อหนา เมล็ดเล็ก หวานกรอบ เนื้อล่อน
– อีดอ ผลขนาดปานกลาง เมล็ดเล็ก รสหวาน แบ่งเป็น 2 ชนิดคือ อีดอยอดแดง ใบอ่อนมีสีแดงกับอีดอยอดเขียว ใบอ่อนมีสีเขียว
– อีแดง สีเปลือกของผลค่อนข้างแดง เป็นพันธุ์กลาง กิ่งเปราะหักง่าย ผลกลมใหญ่เมล็ดใหญ่ รสหวานแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คืออีแดงเปลือกหนา มีใบป้อมใหญ่ผลใหญ่ กับอีแดงเปลือกบาง ใบยาวผลเล็กกว่าอีแดงเปลือกหนา
– อีดำ ผลใหญ่ ใบดำ เนื้อหนา เมล็ดเล็ก หวานกรอบ แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ อีแห้วยอดแดง เมล็ดปานกลาง อีแห้วยอดขาว ผลกลมใหญ่ หัวเบี้ยว เนื้อกรอบ ไม่หวาน - ลำไยกระดูก เป็นพันธุ์พื้นเมือง ทรงพุ่มกว้างใบหนาทึบ ผลเล็กมีน้ำมาก เนื้อน้อยไม่หวาน มีน้ำตาลประมาณ 13.75% ขึ้นได้ทั่วไปปลูกง่าย เหลือให้เห็นน้อย เพราะไม่นิยมปลูก ไม่มีราคา
- ลำไยธรรมดา ผลปานกลาง เนื้อหนากว่าลำไยพันธุ์กระดูก เนื้อกรอบบางมีน้ำมาก ให้ผลดก
- ลำไยสายน้ำผึ้ง ลักษณะคล้ายลำไยธรรมดา แต่เนื้อมีสีเหลืองอ่อน เนื้อมีรสดี หอมกรอบ เมล็ดเล็ก
- ลำไยเถาหรือลำไยเครือ เป็นไม้ต้นรอเลื้อย ลำต้นไม่มีแก่นจึงพันเข้ากับรั้วหรือหลัก ผลเล็กและเมล็ดโตกว่าลำไยบ้าน เนื้อหุ้มเมล็ดบาง

ธาตุอาหารหลักที่ลำไยต้องการ
ประโยชน์ของลำไย
- ผลสดนำมารับประทาน
- ลำไยทำเป็นอาหารหวาน เช่น ข้าวเหนียวเปียกลำไย วุ้นลำไย ลำไยลอยแก้ว น้ำลำไย
- ลำต้นใช้ทำเครื่องเรือนตกแต่งบ้าน ลำต้นมีขนาดใหญ่ สูงประมาณ 30-40 ฟุต เนื้อไม้มีสีแดงและแข็ง
- นิยมปลูกไว้ประดับมากกว่าปลูกไว้รับประทาน ชอบขึ้นตามป่าเขา
สรรพคุณทางยาของลำไย
- เปลือกของต้นมีสีน้ำตาลอ่อนหรือเทาและมีรสฝาดใช้ต้มเป็นยาหม้อแก้ท้องร่วง
- ลำไยตากแห้งสามารถทำเป็นชาชงดื่ม เป็นยาบำรุงกำลังช่วยให้หลับสบายเจริญอาหาร แต่ถ้ากินลำไยมากเกินไปจะเกิดอาการร้อนใน แผลในปาก หรือตาแฉะได้ ในตำรายาจีนเรียกกุ้ยหยวน (ภาษาจีนกลาง) หรือ กุ้ยอี้ (ภาษาจีนแต้จิ๋ว) ใช้เป็นยาบำรุงเลือด กล่อมประสาท

คุณค่าทางโภชนาการของลำไย
- ลำไยสดทั่วไปประกอบด้วย
– น้ำ 81.1 %
– คาร์โบไฮเดรต 16.98 %
– โปรตีน 0.97 %
– เถ้า 0.56 %
– กาก 0.28 %
– ไขมัน 0.11 % - ในลำไยสด 100 กรัม จะมีค่าความร้อน 72.8 แคลอรี
– มีวิตามิน 69.2 มิลลิกรัม
– แคลเซียม 57 มิลลิกรัม
– ฟอสฟอรัส 35.17 มิลลิกรัม
– ธาตุเหล็ก 0.35 มิลลิกรัม
การแปรรูปของลำไย
ลำไยแปรรูปบรรจุกระป๋องหรือตากแห้ง ผลลำใยอบแห้ง ต้มน้ำดื่ม เป็นต้น

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10004&SystemType=BEDO
www.flickr.com
6 Comments