ลิ้นจี่ต้านมะเร็ง ผลไม้ในฤดูร้อน ข้อควรระวังในการกิน

ลิ้นจี่

ลิ้นจี่ เป็นผลไม้ในฤดูร้อน มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Litchi Chinensis Sonn. วงศ์ Sapindaceae ต้นกำเนิดของลิ้นจี่ คือ ประเทศจีน มีประมาณ 30-40 พันธุ์ กวีเอกสมัยราชวงศ์ถังชื่อ ป๋ายจีอี้ เคยเขียนไว้ว่า “ถ้าลิ้นจี่ถูกเด็ดจากต้น 1 วัน เปลือกจะเปลี่ยนสี 2 วัน กลิ่นหอมก็จะเปลี่ยน 3 วัน รสชาติก็เปลี่ยนไป และหลังจาก 4-5 วัน ทั้งสี กลิ่น และรสก็จะเปลี่ยนไปหมดสิ้น” นอกจากนี้ ลิ้นจี่ยังถูกกล่าวถึงในประวัติศาสตร์จีนในสมัยราชวงศ์ถัง โดยเป็นผลไม้โปรดของหยางกุ้ยเฟย พระสนมของจักรพรรดิถังเสวียนจงอีกด้วย

ในลิ้นจี่นั้นอุดมไปด้วยสารอาหาร วิตามิน และแร่ธาตุมากมาย เช่น วิตามิน บี 1 ในลิ้นจี่ช่วยป้องกันโรคเหน็บชา วิตามินบี 2 ช่วยให้ ร่างกายเจริญเติบโตป้องกันไขมันอุดตันในหลอดเลือด แคลเซียมเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง อีกทั้งยังมีไนอะซีน ช่วยเปลี่ยนน้ำตาลและไขมันให้เป็นพลังงานช่วยระบบย่อยอาหารได้อีกด้วย

ลิ้นจี่
ลิ้นจี่ ไม้ยืนต้น ผลสดรูปทรงกลม-รูปไข่ ผิวขรุขระ

คุณค่าทางอาหารของลิ้นจี่

คุณค่าทางโภชนาการต่อ 100 กรัม (3.5 ออนซ์) พลังงาน 276 kJ (66 kcal)

  • คาร์โบไฮเดรต     16.5 g
  • ใยอาหาร                1.3 g
  • ไขมัน                      0.4 g
  • โปรตีน                    0.8 g
  • วิตามินซี (87%)    72 mg

สรรพคุณทั่วไปของลิ้นจี่

รสชาติหวานๆแบบนี้ลิ้นจี่ถือเป็นผลไม้ที่เหมาะสมกับการรักษารูปร่าง ถ้าหากทานอย่างพอดี ลิ้นจี่ 1 ถ้วย (6 ผล ไม่แกะเมล็ดออก) ให้พลังงาน 125 แคลอรี มีไขมันน้อยกว่า 1 กรัม ลิ้นจี่มีวิตามินบี 2 โพแทสเซียม และมีวิตามินซีสูงมาก กินลิ้นจี่เพียงวันละ 3 ผลก็ได้วิตามินซีครบถ้วนตามความต้องการใน 1 วัน เนื่องจากวิตามินซีเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญ ช่วยบำรุงหลอดเลือด กระดูกและฟัน ในฤดูกาลที่มีขายให้ทานกันอย่างมากมาย สามารถใช้ลิ้นจี่แทนการทานวิตมินซีสังเคราะห์ได้

สรรพคุณทางยาของส่วนต่างๆ

  • เนื้อในผล กินเป็นยาบำรุง แก้อาการไอเรื้อรัง แก้กระหายน้ำ แก้อาการคัดจมูก รักษาอาการท้องเดิน ลดกรดในกระ-เพาะอาหาร และบรรเทาอาการไม่ปกติของระบบทางเดินอาหาร
  • นอกจากนี้ประเทศจีนใช้ชาเปลือกลิ้นจี่บรรเทาอาการหวัด แก้การติดเชื้อในลำคอ อาการท้องเสียอย่างอ่อน และโรคจากการติดเชื้อไวรัส แก้บิด แก้ผดผื่น
  • เมล็ดมีฤทธิ์แก้ปวดบวม โดยใช้บดเป็นผงชงน้ำดื่ม หรือใช้พอกบริเวณมีอาการ
  • รากลิ้นจี่หรือเปลือกต้นใช้แก้อาการติดเชื้อไวรัส อีสุกอีใส และเพิ่มความสามารถระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ลิ้นจี่มีปริมาณเส้นใยอาหารสูง มีปริมาณพลังงาน ต่ำ และเชื่อกันว่ามีคุณสมบัติช่วยเผาผลาญสารอาหารในร่างกายอย่างมีประสิทธิภาพ

ลิ้นจี่สรรพคุณกับการต้านโรคมะเร็ง

มีงานวิจัยในประเทศจีนพูดถึงการสกัดสารฟลาโวนอยด์ที่มีมากมายในเปลือกและเนื้อลิ้นจี่ ว่าสามารถช่วยยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็งเต้านม และช่วยยับยั้งผลต่อเนื่องในการแทรกตัว การยึดเกาะพื้นผิวของเซลล์มะเร็งได้ ซึ่งปัจจุบันนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาผลิตเป็นอาหารเสริมให้กับผู้ป่วยมะเร็ง

ผลลิ้นจี่
ผลลิ้นจี่ ผลสุกมีสีแดงสด เนื้อขาวฉ่ำน้ำ

ข้อควรระวัง

สำหรับผู้ที่ยีนบกพร่อง คือ มีอาการ เวียนหัว ตาลาย มีเสียงในหู ปวดเมื่อยเอว ร้อนอุ้งเท้า ปากคอแห้ง ลิ้นแดง มีฝ้าน้อย ไม่ควรควรหลีกเลี่ยงการทานลิ้นจี่ ถ้าหากทานลิ้นจี่มากจะทำให้เกิด “โรคลิ้นจี่” ซึ่งมีอาการหัวใจเต้นเร็ว แขนขาไม่มีแรง มึนหัว หน้ามืดตาลาย เป็นต้น ถ้ามีอาการดังกล่าว ให้เอาเปลือกลิ้นจี่ ต้มกิน อาการก็จะหายไป

ลิ้นจี่ผลไม้ตามฤดูร้อน ที่มีรสหวานและมีกลิ่นหอม ให้ความสดชื่น แก้กระหายน้ำได้ และยังมีสรรพคุณในการบำรุงร่างกายมากมาย และให้พลังงานไม่สูงมากนักหากทานในปริมาณที่พอเหมาะ

สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับการเกษตร เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : https://skm.ssru.ac.th
ภาพประกอบ : www.flickr.com

One Comment

Add a Comment