วงศ์ผักเบี้ยและสกุลผักเบี้ย PORTULACACEAE

ลักษณะประจำวงศ์ 

ลักษณะวงศ์เป็นไม้ล้มลุกอายุ 1 หรือหลายปี อวบน้ำ มักเลื้อยไปตามพื้นดิน เนื้อเยื่อเป็นเมือกมียางขม หูใบแห้งบางหรือเป็นกลุ่มขน ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามหรือเรียงสลับ บางทีออกเป็นกอติดพื้นดิน ขอบเรียบ ดอกออกเป็นช่อกระจุก แยกแขนงหรือเป็นก้อนตามปลายยอดหรือตามง่ามใบ หรือดอกเดียวตามง่ามใบ สมมาตรตามรัศมี สมบูรณ์เพศ ดอกเล็กและบานเด่นมีหลายสี รองรับด้วยใบประดับไม่เท่ากัน 2 ใบ กลีบรวมมี 4-6 กลีบ บางทีมีจำนวนมาก ขายกลีบดอกแยกหรือโคนเชื่อมติดกัน บานวันเดียว เกสรเพศผู้มี 4-6 อันหรือเป็นจำนวนมาก อยู่เป็นกระจุก ติดตรงข้ามกลีบรวมหรือติดบนกลีบรวม ก้านเกสรเพศผู้แยกต่างกัน มีต่อมที่โคน อับเรณูแตกตามยาว เกสรเพศเมียมี 1 อัน มี 2 หรือ 3 คาร์เพล รังไข่ติดเหนือวงกลีบหรือกึ่งใต้วงกลีบ มี 1 ช่อง ออวุลมีจำนวนน้อยถึงมาก พลาเซนตารอบแกน ก้านเกสรเพศเมียมีจำนวนเท่ากับจำนวนคาร์เพล ยอดเกสรเพศเมียเป็นตุ่ม ผลแก่แตกตามขวางหรือแตกกลางพู เมล็ดรูปเลนส์แบน 

ลักษณะเด่นของวงศ์

ไม้ล้มลุกอวบน้ำ มีหูใบแห้งบาง ดอกรองรับด้วยใบประดับไม่เท่ากัน 2 ใบ กลีบรวมเรียงเป็น 1 วง ขายกลีบดอก เกสรเพศผู้มี 4-6 อัน คนแก่แตกตามขวางหรือแตกกลางพู

วงศ์ใกล้เคียง-ลักษณะที่แตกต่าง

  • Nyctaginaceae  กลีบรวมเชื่อมติดกันเป็นท่อ ดอกรองรับด้วยวงใบประดับ รังไข่ติดเหนือวงกลีบ ผลแห้งเมล็ด

การกระจายพันธุ์

พบทั่วไปในกึ่งเขตร้อนและเขตอบอุ่น ในประเทศไทยมี 2 สกุล 

  • สกุล Portulaca ได้แก่ ผักเบี้ยใหญ่ Portulaca oleracea L. ผักเบี้ยหนู Portulaca quadrifida L. และ แพรเซี่ยงไฮ้ Portulaca pilosa subsp. grandiflora (Hook.) Geesink
  • สกุล Talinum ได้แก่ โสมเกาหลี Talinum fruticosum (L.) Juss. โสมคน Talinum paniculatum (Jacq.) Gaertn.
ผักเบี้ยใหญ่
ผักเบี้ยใหญ่ ลำต้นสีเขียวหรือสีม่วงแดง ก้านกลมแตกกิ่งก้านสาขาแผ่ออกไป

สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับการเกษตร เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.dnp.go.th
ภาพประกอบ : www.flickr.com

One Comment

Add a Comment