ลักษณะประจำวงศ์
วงศ์มะดูก CELASTRACEAE ลักษณะวงศ์เป็นไม้ต้น หรือไม้พุ่ม หูใบเล็ก หลุดร่วงง่าย ใบ เดี่ยว ติดเวียนสลับ หรือตรงข้าม ขอบใบจักซี่ฟัน ดอก สมบูรณ์เพศ กลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีอย่างละ 5 กลีบ กลีบดอกแยกจากกัน มีจานฐานดอกชัดเจน เกสรเพศผู้มี 4-5 อัน ติดตรงข้าม กลีบเลี้ยง รังไข่ติดเหนือวงกลีบ รังไข่มี 2-5 ช่อง พลาเซนตารอบแกนร่วม ผลเป็นแบบผลแห้งแตก เมล็ดมีเนื้อ

ลักษณะเด่นของวงศ์
พืชวงศ์มะดูก CELASTRACEAE เป็นใบแห้งมีสีเขียวอมเทาจาง ๆ ขอบใบจักซี่ฟัน ดอกเล็กสีออกเขียว ผลแห้งแตก เมล็ดมีเนื้อสีแดงหรือสีส้มสด
วงศ์ใกล้เคียง-ลักษณะที่แตกต่าง
- Aquifoliaceae – ไม่มีจานฐานดอก ยอดเกสรเพศเมียกว้าง ไม่มีก้านเกสร ผลมเนื้อเมล็ดแข็ง 3 เมล็ดหรือมากกว่า
- Flacourtiaceae – ใบติดเวียนสลับ รังไข่มี 1 ช่อง พลาเซนตาตามแนวตะเข็บ
- Rhamnaceae – ใบพบน้อยที่ติดตรงข้าม เกสรเพศผู้ติดตรงข้ามกับกลีบดอก
การกระจายพันธุ์
สกุลมะดูกพบในเขตร้อนทั่วไป บางชนิดกระจายไปถึงเขตอบอุ่น ในประเทศไทยมี 12 สกุล
- สกุล Bhesa โคนก้านใบคล้ายนวม เส้นใบย่อยเป็นแบบขั้นบันได ได้แก่ หูยาน Bhesa indica (Bedd.) Ding Hou
- สกุล Celastrus ไม้พุ่มรอเลื้อย ใบติดสลับ ผลแห้งแตก มักมีสีออกเหลือง เมื่อแก่ แตกออกเป็น 3-5 เสี่ยง ได้แก่ กระทงลาย Celastrus monospermoides Loes.
- สกุล Euonymous ไม้พุ่มหรือไม้ต้น ใบติดตรงข้าม ผลแก่แตกเป็น 3-5 เสี่ยง มีกระจายทั่วไป พบตามที่ราบหรือป่าดิบเขาชื้น ได้แก่ กระจับนก Euonymous cochinchinensis Pierre
- สกุล Lophopetalum ไม้ต้นในป่าพรุ มีรากหายใจ เมล็ดมีปีก ได้แก่ สองสลึง Lophopetalum duperreanum Pierre
- สกุล Mayteneus ไม้พุ่มตั้งตรง ใบติดสลับ ดอกออกตามงามใบ รังไข่มี 3-4 ช่อง ได้แก่ หนามแดง Mayteneus marcanii Ding Hou
- สกุล Siphonodon ไม้ต้น รังไข่มีหลายช่อง ได้แก่ มะดูก Siphonodon celastrineus Griff.


ประโยชน์
ผลและเมล็ดของพืชวงศ์นี้หลายชนิด เป็นอาหารของนกและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายชนิด
สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับการเกษตร เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.dnp.go.th
ภาพประกอบ : www.flickr.com
ต้นไม้วงศ์มะดูก ได้แก่ ต้นกระทงลาย ต้น มะดูก ต้นกำแพงเจ็ดชั้น เป็นต้น
วงศ์มะดูก CELASTRACEAE เป็นพืชประเภทไม้พุ่ม ไม้ต้น หรือไม้พุ่มรอเลื้อย