ว่านธรณีสาร
ชื่ออื่นๆ : เสนียด (กรุงเทพมหานคร) กระทืบยอด (ชุมพร) ตรึงบาดาล (ประจวบคีรีขันธ์) ก้างปลาดิน, ดอกใต้ใบ (นครศรีธรรมราช) คดทราย (สงขลา) ก้างปลาแดง, ครีบยอด (สุราษฎร์ธานี) ก้างปลา (นราธิวาส) มะขามป้อมดิน(เชียงใหม่)
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : ว่านธรณีสาร Tropical leaf-flower
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Phyllanthus pulcher Wall. ex M?ll.Arg.
ชื่อวงศ์ : Euphorbiaceae
ลักษณะของว่านธรณีสาร
ต้น ไม้พุ่มสูงกึ่งไม้ยืนต้นขนาดเล็ก 1-1.5 เมตร เปลือกต้นเรียบ สีน้ำตาล มีรอยแผลใบชัดเจน
ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปรีแกมขอบขนาน กว้าง 0.8-1.3 ซม. ยาว 1.5-2.5 ซม. โคนใบเบี้ยว ปลายใบมน ขอบใบเรียบ หลังใบและท้องใบเรียบ สีเขียว
ดอก ดอกแยกเพศอยู่ต้นเดียวกัน ดอกเพศผู้ออกเป็นกระจุกตามซอกใบ กลีบดอกมี 4 กลีบ ดอกเพศเมียออกตามซอกใบในส่วนของก้านใบ ดอกห้อยลง กลีบดอกมี 6 กลีบ โคนติดกัน สีม่วงแดง ปลายแหลม ปลายเป็นสีเขียว ขอบจักเป็นฝอย
ผล รูปทรงกลม สีน้ำตาลอ่อน

การขยายพันธุ์ของว่านธรณีสาร
ใช้เมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่ว่านธรณีสารต้องการ
ประโยชน์ของว่านธรณีสาร
ว่านธรณีสารจัดเป็นไม้มงคลโบราณที่นิยมนำมาใช้ประกอบทำน้ำมนต์ โดยใช้ใบว่านธรณีสารชุบกับน้ำมนต์ ใช้ประพรมเพื่อเป็นการปัดรังควานและเสนียดจัญไร จึงนิยมปลูกกันไว้ตามวัด ส่วนการปลูกตามบ้านมีบ้างประปราย
คนไทยโบราณเชื่อว่าถ้าปลูกต้นธรณีสารไว้กับบ้านจะเป็นสิริมงคล ทำให้มีความสุขร่มเย็น หากว่านธรณีสารงอกงามดี จะเป็นสัญญาณที่แสดงว่าเจ้าของจะได้เกียรติยศ ได้ตำแหน่งหน้าที่การงานที่ดีขึ้นกว่าเดิม หรือมีโชคลาภ และยังเชื่อด้วยว่าว่านธรณีสารสามารถแผ่อิทธิคุณ ช่วยคุ้มครองอาณาบริเวณให้รอดพ้นจากมนต์ดำต่าง ๆ ช่วยปัดเสนียดจัญไรไม่ให้เข้ามาทำอันตรายได้
สรรพคุณทางยาของว่านธรณีสาร
ส่วนที่ใช้ : ใบแห้ง
- ป่นเป็นผง ผสมกับพิมเสนดีพอควร
- ใช้กวาดคอเด็ก แก้เด็กตัวร้อน แก้พิษตานทรางของเด็กได้ดี และขับลมในลำไส้
- ช่วยแก้อาการปวดกระเพาะอาหาร (ใบ)
- ต้นใช้ฝนทาท้องเด็ก ช่วยแก้ขัดเขา (ต้น)
- ช่วยแก้นิ่วในไต (ใบ)
- ต้นใช้เป็นยาทาท้องเด็ก ช่วยทำให้ไตทำงานตามปกติ และเป็นยาแก้ไข้ (ต้น)
- ต้นใช้เป็นยาทาผิวหนัง แก้ผิวหนังอักเสบ และแก้อาการคัน (ต้น)
- ใบใช้ตำพอกแก้ผื่นคันตามร่างกาย (ใบ)
คุณค่าทางโภชนาการของว่านธรณีสาร
การแปรรูปของว่านธรณีสาร
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11537&SystemType=BEDO
www.flickr.com