ส้มเกรียบ
ชื่ออื่นๆ : ส้มมวงย่าน (สงขลา) ส้มเกรียบ (พัทลุง)
ต้นกำเนิด : พบได้ตามธรรมชาติในภาคใต้ บริเวณริมป่าเขา ที่ยังไม่มีสวนยางพารา
ชื่อสามัญ :
ชื่อวิทยาศาสตร์ :
ชื่อวงศ์ :
ลักษณะของส้มเกรียบ
ต้นส้มเกรียบ เป็นไม้เถาเลื้อยที่เกี่ยวพันต้นไม้อื่น มีอายุยืนนานหลายปี เถาย่านมีสีน้ำตาลและเหนียวมาก เมื่อเด็ดใบจะมียางสีขาว
ใบส้มเกรียบ ใบด้านบนสีเขียวเข้ม ใบด้านล่างสีเขียวอ่อน ใบเป็นรูปหอก เรียงตรงข้าม กว้าง 2 -3.5 ซม. ยาว 6-9 ซม. ก้านใบยาว 1 ซม. ปลายใบและโคนใบแหลม
ดอกส้มเกรียบ ดอกมีขนาดเล็ก สีขาว ออกเป็นช่อ มีกลิ่นหอมนวลละออ คล้ายดอกโมก ดอกแก้ว




หมายเหตุของคนโบราณ ในเขต จ.สงขลา ไม่ค่อยมีคนรู้จักส้มมวงย่าน คงมีเฉพาะผู้สูงอายุ 60,70 ปี ขึ้นไปเท่านั้นที่รู้จักใช้ประโยชน์จากพืชผักชนิดนี้ ทุกวันนี้ ส้มมวงย่านจึงกลายเป็นเพียงวัชพืชริมสวนยางของคนสงขลา แต่ในเขตพัทลุง ส้มมวงย่านหรือส้มเกรียบของชาวพัทลุง ยังคงเป็นที่รู้จักและใช้เป็นผักอยู่อย่างแพร่หลาย
การขยายพันธุ์ของส้มเกรียบ
การแยกเหง้า
ธาตุอาหารหลักที่ส้มเกรียบต้องการ
ประโยชน์ของส้มเกรียบ
- ใบและยอดอ่อน มีรสเปรี้ยว ใช้เป็นผักต้มกับเนื้อหมู เนื้อไก่ หรือเนื้อปลา มีรสชาติคล้ายชะมวง(ส้มมวง) แต่จะไม่มีกลิ่นชัน หรือจะใช้เป็นผักแกงส้ม ก็ได้
- เถาใช้มัดแทนเชือก
- กินเป็นยาระบาย
- มีวิตามินซี
ชื่อเรียกส้มเกรียบมาจาก เมื่อเวลาเรานำใบของส้มเกรียบมาบีบหรือขยำจะทำให้เกิดเสียง เกรียบ เกรียบ เทียบเคียงรสชาติจะออกเปรี้ยว คนปักษ์ใต้เรียกว่า “ส้ม” จึงนำมาผสมรวมกันเรียกว่า “ส้มเกรียบ”





สรรพคุณของส้มเกรียบ
ใบ ช่วยลดไขมันในร่างกาย
คุณค่าทางโภชนาการของส้มเกรียบ
ส้มเกรียบ ใบอ่อนและยอดอ่อน ปริมาณ 100 กรัม ให้พลังงาน 83 กิโลแคลอรี ให้ปริมาณสารอาหารดังนี้
คุณค่าทางโภชนาการของส้มเกรียบ ต่อปริมาณ 100 กรัม
สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับการเกษตร เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.songkhlalake.psu.ac.th, www.thaifcd.anamai.moph.go.th, ภัตตาคารบ้านทุ่ง, www.thaipbs.or.th
ใส่ต้ม อร่อยกว่าใบชะมวง