สรรพคุณและประโยชน์ของกระชายดำ สมุนไพรไทย

กระชายดำ

กระชายดำ เป็นไม้ล้มลุกไม่มีลำต้นบนดิน มีเหง้าใต้ดินซึ่งแตกรากออกไปเป็นกระจุกจำนวนมาก อวบน้ำ ตรงกลาลพองกว้างกว่าส่วนหัวและท้าย ใบ เดี่ยว เรียงสลับเป็นระนาบเดียวกัน รูปขอบขนานแกมรูปไข่ กว้าง 4.5-10 เซนติเมตร ยาว 13-15 เซนติเมตร ตรงกลางด้านในของก้านใบมีร่องลึก ดอก ช่อ ออกแทรกอยู่ระหว่างกาบใบที่โคนต้น กลีบดอกสีขาวหรือชมพูอ่อน ใบประดับรูปใบหอกสีม่วงแดง ดอกย่อยบานครั้งละ 1 ดอก

กระชายดำสามารถจำแนกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ โดยพิจารณาจากสีของเนื้อในเหง้า ได้แก่ กลุ่มที่มีเนื้อในเหง้าสีม่วง ม่วงเข้ม จนถึงม่วงดำ และกลุ่มที่มีเนื้อในเหง้าสีจาง เนื่องจากมีความเชื่อว่าสีของเนื้อในเหง้าเป็นตัวบ่งชี้คุณภาพของกระชายดำ ในทางการค้าจึงมักนิยมกระชายดำมีเนื้อในเหง้าสีม่วงเข้มซึ่งเชื่อว่ามีคุณภาพดี ถ้าเนื้อเป็นสีม่วงอ่อนจะถูกคัดไปเป็นกระชายม่วงซึ่งเชื่อว่าคุณภาพด้อยกว่า

ในเหง้ากระชายดำ ประกอบด้วยสารสำคัญต่างๆ ได้แก่ น้ำมันหอมระเหย สารฟลาโวนอยด์ (flavonoids) กลุ่มฟลาโวน (flavones) เช่น 5,7-dimethoxyflavone, 5,7,4′-trimethoxyflavone, 5,7,3′, 4′-tetramethoxyflavone และ 3,5,7,3′,4′-pentamethoxyflavone กลุ่มสารแอนโทไซยานิน (antho-cyanins) และสารประกอบฟีนอลิก (phenolic compounds) อื่นๆ ส่วนใหญ่แล้วพันธุ์ที่มีเนื้อในเหง้าสีเข้ม จะมีปริมาณสารฟีนอลิกรวมและสารฟลาโวนอยด์สูงกว่าพันธุ์ที่มีเนื้อในเหง้าสีจาง ส่วนพันธุ์ที่มีเนื้อในเหง้าสีจาง จะมีปริมาณน้ำมันหอมระเหยสูงกว่าพันธุ์ที่มีสีเข้ม

ต้นกระชาย
ใบต้นกระชาย เป็นใบเดี่ยว รูปรี ปลายใบเรียวแหลม

สรรพคุณทางยาของกระชายดำ

  • แก้โรคในปาก เช่น ปากเป็นแผล , ปากเปื่อย
  • รักษาโรคภูมิแพ้ ช่วยขับพิษต่างๆ ในร่างกาย
  • รักษาโรคปวดข้อ เช่น ปวดหลัง , ปวดเมื่อตามร่างกาย
  • บำรุงกำลัง ช่วยเสริมสมรรถภาพกล้ามเนื้อของนักกีฬา
  • ออกฤทธิ์ช่วยในการกำจัดเชื้อราที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคผิวหนัง
  • เหง้า รักษาโรคบิด แก้ท้องอืดเฟ้อ บำรุงกำลัง บำรุงกำหนัด รักษาแผลในปาก ขับระดูขาว ขับปัสสาวะ
  • ตำรายาไทย ใช้บำรุงกำลัง แก้ปวดเมื่อยและอาการเหนื่อยล้า  และเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ  ขับลม เป็นยาอายุวัฒนะ (เชื่อว่าช่วยบำรุงสมรรถภาพทางเพศชาย) แก้จุกเสียด แก้ปวดท้อง  หรือโขลกกับเหล้าขาวคั้นน้ำดื่ม แก้โรคมดลูกพิการ มดลูกหย่อน ใช้กวาดคอเด็ก แก้โรคตานซางในเด็ก หรือต้มดื่มแก้โรคตา

โดยข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ได้ระบุเอาไว้ว่า “กระชายดำ” มีฤทธิ์ต้านจุลชีพ ซึ่งก็คือสิ่งมีชีวิตที่มีขนาดเล็กมากๆ จำพวกแบคทีเรีย หรือแม้แต่ไวรัส ช่วยต้านทานการอักเสียบเทียบได้กับยาหลายๆ ชนิด อาทิ แอสไพริน อินโดเมธาซิน และเพรดนิซิโลน

กระชายดำ
กระชายดำ เหง้าสีออกม่วงดำ

ประโยชน์ด้านอื่นของกระชาย

  • เพิ่มสมรรถภาพทางเพศชาย

อ้างอิงจากจุลสารข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่าสารสกัดเอทานอลที่ได้จากเหง้ากระชายดำมีผลทำให้พฤติกรรมทางเพศของสัตว์ที่เข้ารับการทดลองดีขึ้น ซึ่งจะเข้าไปช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปยังอวัยวะเพศ ออกฤทธิ์ยับยั้งการหดตัวของกล้ามเนื้อเรียบองคชาต และกล้ามเนื้อเรียบของอวัยวะเพศของผู้ที่ได้จากการผ่าตัดแปลงเพศ กล้ามเนื้อเกิดการคลายตัว ทำให้เลือดสามารถไหลเวียนเข้าสู่อวัยวะเพศได้ดี การแข็งตัวของอวัยวะเพศจึงมีประสิทธิภาพมากขึ้น

จากการทดลองเพิ่มเติมที่ทำกับอาสาสมัครวัย 65 ปีขึ้น โดยให้ทานแคปซูลที่เป็นสารสกัดเอทานอลจากกระชายดำเป็นระยะเวลา 2 เดือน พบว่า พวกเขาสามารถตอบสนองต่อสิ่งเร้าทางเพศได้เพิ่มขึ้น (erotic stimuli) รวมถึงขนาดและความยาวขององคชาติก็เพิ่มมากขึ้น ทำให้พวกเขารู้สึกพึงพอใจต่อการแข็งตัว จากนั้นเมื่อหยุดให้สารสกัด ร่างกายก็จะกลับเข้าสู่สภาวะปกติ จึงพิสูจน์ได้ว่ากระชายดำมีฤทธิ์ช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศได้จริง แต่ถึงอย่างนั้น ก็ยังไม่มีผลการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมที่ออกมารับรองว่าต้องทานสารสกัดเท่าไหร่จึงจะเหมาะสมเพื่อความปลอดภัย จึงต้องระมัดระวังเป็นอย่างยิ่งก่อนนำมาใช้

  • เพิ่มฮอร์โมนเพศหญิง

จากข้อมูลในตำรายาสมุนไพรไทยได้ระบุเอาไว้ว่า กระชายดำ สามารถช่วยบำรุงเลือดในสตรี แก้ตกขาว ทำให้โลหิตหมุนเวียนได้ขึ้น ช่วยให้ประจำเดือนมาเป็นปกติ เมื่อมีประจำเดือน อาการปวดท้องก็จะลดน้อยลง อีกทั้งยังมีส่วนช่วยบำรุงให้ผิวพรรณผุดผ่องได้อีกด้วย

  • บำรุงระบบไหลเวียนเลือด ช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดสมองอุดตัน

อ้างอิงจากข้อมูลในงานวิจัยของคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยพะเยา ระบุเอาไว้ว่า เมื่อหนูขาวที่เหนี่ยวนำให้เป็นโรคหลอดเลือดสมองอุดตันได้กินกระชายดำเข้าไปในปริมาณ 200 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ต่อเนื่องเป็นเวลา 2 สัปดาห์ อาการอ่อนแรงที่เกิดขึ้นซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ว่าเป็นความผิดปกติของระบบประสาทก็ลดน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด อีกทั้งยังช่วยลดปริมาณเนื้อตายของสมองที่เกิดจากการขาดเลือดได้เป็นอย่างดี

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : https://oarkm.oas.psu.ac.th
https://pharmacy.mahidol.ac.th
https://www.flickr.com

Add a Comment