สร้อยสยาม
ชื่ออื่นๆ : สร้อยสยาม, ชงโคสยาม
ต้นกำเนิด : ประเทศไทย
ชื่อสามัญ :
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bauhinia siamensis K.Larsen & S.S.Larsen
ชื่อวงศ์ : FABACEAE
ลักษณะของสร้อยสยาม
ต้นสร้อยสยาม ไม้เถาเนื้อแข็ง มีมือจับ กิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาลแดง
ใบสร้อยสยาม หูใบรูปทรงกลมถึงรูปไข่กลับ ยาว 0.6-1.0 ซม. ใบรูปไข่ กว้าง 4-7 ซม. ยาว 4.0-7.5 ซม. ปลายแยกเป็น 2 แฉก แฉกลึก 1/3 ถึง 2/5 ก้านใบ ยาว 1-3 ซม.

ดอกสร้อยสยาม ช่อดอกแบบช่อกระจะ ห้อยลง ยาวถึง 75 ซม. แกนกลางมีขนสั้นนุ่มสีน้ำตาลแดงเมื่ออ่อน กลีบเลี้ยงรูปปากเปิด กลีบดอกมี 5 กลีบ ขนาดไม่เท่ากัน รูปไข่กลับถึงรูปรี สีชมพูอมขาวถึงสีชมพู กว้าง 0.8-1.0 ซม. ยาว 1.5-2.0 ซม. ปลายกลม โคนสอบเรียว เกสรเพศผู้มี 3 อัน เกสรเพศผู้ที่เป็นหมันมี 6 อัน รังไข่มีก้านยาวประมาณ 0.4 ซม. สร้อยสยามออกดอกช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน
ผลสร้อยสยาม แบบฝัก รูปขอบขนาน กว้าง 3-4 ซม. ยาว 16-18 ซม. มีจะงอยยาวประมาณ 0.5 ซม. ก้านผลยาวประมาณ 0.6 ซม. เมล็ดรูปไข่ แบน สีน้ำตาลเข้มยาว 1.5-2.0 ซม.

การขยายพันธุ์ของสร้อยสยาม
การเพาะเมล็ด
พืชถิ่นเดียวของไทย พบเฉพาะที่ภูเมี่ยง จ. พิษณุโลก ขึ้นในป่าเบญจพรรณที่มีไผ่หนาแน่น พบที่ความสูงจากระดับทะเลปานกลาง 300 ม.
ธาตุอาหารหลักที่สร้อยสยามต้องการ
ประโยชน์ของสร้อยสยาม
นิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับเลื้อยแต่งรั้วหรือซุ้ม
สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับการเกษตร เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.rpplant.royalparkrajapruek.org
ภาพประกอบ : www.flickr.com, สวนพฤกษศาสตร์บ้านร่มเกล้า พิษณุโลก ในพระราชดำริ
สร้อยสยามหรือชงโคสยาม เป็นไม้เถาเนื้อแข็ง ออกดอกช่วงเดือนกุมภาพันธุ์-เมษายน เป็นพืชถิ่นเดียวของไทย พบเฉพาะที่ภูเมี่ยง จ. พิษณุโลก