สะแบง ยางกราด ต้นไม้สูง เนื้อไม้ใช้ทำเฟอร์นิเจอร์

ยางกราด

ชื่ออื่นๆ : ยางกราด, กาด,ยางสะแบง (นครราชสีมา) กราด, ซาด (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) กร้าย (ส่วย – สุรินทร์) ชะแบง, ตะแบง, สะแบง (สุรินทร์) ตรายด์ (เขมร, ส่วย – สุรินทร์) ยางกราด(สระบุรี) ลาง (ชลบุรี) เหียง กราด

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : ยางกราด

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dipterocarpus intricatus dyer

ชื่อวงศ์ : DIPTEROCARPACEAE

ลักษณะของยางกราด

ต้น ไม้ต้นสูง 20-30 เมตร ผลัดใบ เปลือกแตกเป็นร่องลึกยาวหรือแตกเป็นสะเก็ดตามขวาง ลำต้นมีเปลือกสีน้ำตาล กาบต้นหนาแตกเป็นร่องลึก

ใบ ใบเดี่ยวเรียงสลับ ใบรูปไข่หรือรูปไข่แกมขอบขนานปลายมนโคนใบรูปหัวใจ ขอบใบเรียบ ผิวใบด้านบน มีขนหยาบและสากด้านล่างมีขนยาวรูปดาว

ดอก ดอกช่อแบบแยกแขนงออกตามซอกใบ หรือปลายกิ่ง กลีบดอกด้านนอกสีขาว ด้านในสีขาวปนชมพู ใบกลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ กลีบดอกมี 5 กลีบ โคนเชื่อมติดกันปลายแยกบิดรูปกังหันสีขาวแซมแดง

ผล ผลรูปร่างค่อนข้างกลม เป็นจีบพันและมีปีกยาว 2 ปีก ปีกสั้น 3 ปีก

ต้นยางกราด
ต้นยางกราด เปลือกแตกเป็นร่องลึกยาวหรือแตกเป็นสะเก็ดตามขวาง
ใบยางกราด
ใบยางกราด ใบเดี่ยว ปไข่หรือรูปไข่แกมขอบขนานปลายมน

การขยายพันธุ์ของยางกราด

ใช้เมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่ยางกราดต้องการ

ประโยชน์ของยางกราด

  • เนื้อไม้ใช้ก่อสร้างทำเฟอร์นิเจอร์ทำไม้กระดาน
  • ดอกออน รับประทานสดจิ้มกับน้ำพริก ลาบ มีรสเปรี้ยว
  • ส่วนขี้ซี (ยางชัน) ใช้เป็นเชื้อจุดไฟ (ไต้)
  • ดอกนำมาร้อยถวายพระ
  • น้ำมันหรือน้ำยางใช้เหมือนไม้ยาง(จากการสัมภาษณ์และการจัดประชุมเสวนาผู้นำในชุมชน)
ดอกยางกราด
ดอกยางกราด ปลายบิดเวียนคล้ายกังหัน สีชมพู ขอบสีขาว

สรรพคุณทางยาของยางกราด

  • น้ำจากลำต้น ดื่มแก้ซาง ตาลขโมยในเด็ก
  • น้ำต้มเปลือก ใช้ทาถูนวด แก้ปวดข้อ

คุณค่าทางโภชนาการของยางกราด

การแปรรูปของยางกราด

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9308&SystemType=BEDO
http://www.ngnkorat.ac.th
https://www.flickr.com

Add a Comment