ส้านใบเล็ก ต้นไม้ที่มีทรงต้นเปลา ดอกมีสีเหลือง ขนาดใหญ่มองเห็นเด่นชัดแต่ไกล

ส้านใบเล็ก

ชื่ออื่นๆ : ไข่เน่าดง, ตานกกด (ลพบุรี), มะโตน (ชลบุรี), ส้านกวาง (ใต้), ส้านโดยเด (นครพนม), แส้น (ตรัง), เหมือดคนขาว (ชัยภูมิ) มะส้าน ส้านแคว้ง, ปล้อ

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : ส้านใบเล็ก

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dillenia ovata Wall. ex Hook.f. & Th.

ชื่อวงศ์ : DILLENIACEAE

ลักษณะของส้านใบเล็ก

ต้น เป็นไม้ต้น ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ไม่ผลัดใบ สูง 8 – 30 ม. ลำต้นมักเป็นปุ่มปม กิ่งอ่อนมีขน เรือนยอด เป็นพุ่มกลมสีเขียวเข้ม ทึบ ปลายกิ่งจะห้อยลง เปลือกนอก สีน้ำตาลอ่อน ล่อนออกเป็นแผ่น ๆ หรือสีแดง เปลือกใน สีน้ำตาลแดง กระพี้ สีขาว แก่นสีน้ำตาลแดง

ใบ ใบเดี่ยว เวียนสลับที่ปลายกิ่ง รูปไข่กลับ ขนาดกว้าง 6 – 14 ซม. ยาว 9 – 28 ซม. โคนใบมนกว้าง ๆ บางทีเบี้ยวปลายใบมนเนื้อใบหนา หลังใบมีขนนุ่ม ท้องใบมีขนสาก ๆ ท้องใบสีจางกว่าหลังใบ เส้นแขนงใบตรงและขนานกัน มี 15 – 20 คู่ ปลายเส้นจะอยู่ภายในขอบใบหรืออาจโผล่ยื่นเลยขอบใบเล็กน้อย เส้นแขนงใบย่อยเป็นแบบร่างแหผสมแบบขั้นบันได เห็นได้ชัดเจน ปกติขอบใบเรียบ ก้านใบยาว 2 – 3.5 ซม. มีขนนุ่ม ๆ หนาแน่น

ดอก มีขนาดใหญ่ ออกเดี่ยว ๆ ตามปลายกิ่งหรือใกล้ ๆ ปลายกิ่งแขนง ดอกบานเต็มที่กว้างถึง 15 – 20 ซม. กลีบรองกลีบดอกเป็นกลีบหนาเกลี้ยง ๆ รูปไข่กลับงอเป็นกระพุ้งห่อกลีบดอก มี 5 กลีบ ขนาดกว้าง 1.5 – 2 ซม. ยาว 2.5 – 3 ซม. 2 กลีย นอกจะมีขนาดใหญ่กว่า 3 กลีบใน กลีบรองกลีบดอกสีเขียวอมเหลือง กลีบดอกสีเหลือง กลีบดอกสีเหลืองรูปไข่กลับ มี 5 กลีบ โตเป็น 3 เท่าของกลีบรองกลีบดอก กลีบดอกหลุดร่วงง่าย กลีบดอกมีปลายกลีบกว้างแล้วเรียวแคบมาสู่โคนกลีบดอก เกสรผู้ มีมากเรียงเป็น 2 ชั้น ปลายเกสรชั้นนอกจะงองุ้มเข้า ส่วนปลายเกสรชั้นในจะเบนออก รังไข่แบ่งเป็น 10 ช่อง แต่ละช่องมีไข่อ่อนจำนวน 50 อัน ปลายหลอดเกสรเมียแผ่ออก ก้านดอกสั้น มีขน และโคนก้านมีกลีบแหลม ๆ หุ้มสองกาบ ขณะออกดอก
ไม่ผลัดใบ

ผล แบบสด กลม อุ้มน้ำ ขนาดโตวันเส้นผ่านศูนย์กลาง 6 ซม. ผลแก่ สีเหลือง มี 6 – 7 ช่อง แต่ละช่องมีเมล็ด 1 เมล็ด เนื้อผลหนา สีเหลือง ภายในผลเป็นเนื้อเยื่อหุ้มเมล็ด ระยะเวลาในการออกดอกและเป็นผล ออกดอกระหว่างเดือน กุมภาพันธ์-เมษายน และเป็นผลระหว่างเดือน มีนาคม-พฤษภาคม

ส้านใบเล็ก
ส้านใบเล็ก กิ่งอ่อนมีขน เนื้อใบหนา ท้องใบสีจางกว่าหลังใบ

การขยายพันธุ์ของส้านใบเล็ก

ใช้เมล็ดเพาะกล้าไม้

ธาตุอาหารหลักที่ส้านใบเล็กต้องการ

ประโยชน์ของส้านใบเล็ก

  • ด้านเนื้อไม้แปรรูป ใช้ก่อสร้าง ทำกระดานพื้น ฝา คร่าว เครื่องบน ด้านเป็นพืชอาหาร ส่วนที่ใช้เป็นอาหาร ได้แก่
  • ผลแก่ รับประทานแทนผัก มีรสหวานหอม
  • ดอก กลีบรองกลีบดอก ใช้แต่งรสอาหาร
  • ด้านการเป็นไม้ประดับ ความน่าสนใจของไม้ต้นนี้ คือ เป็นต้นไม้ที่มีทรงต้นเปลา แม้จะมีปุ่มปมบ้าง เรือนยอดเป็นกลุ่มกลม หนาทึบ ไม่ผลัดใบ ให้ดอกสีเหลืองสดใสมาก ดอกมีขนาดใหญ่มองเห็นเด่นชัดแต่ไกล ขณะออกดอกไม่ผลัดใบจึงเห็นดอกสีเหลืองกระจายเต็มพุ่มเรือนยอด มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ
ดอกส้านใบเล็ก
ดอกส้านใบเล็ก ดอกมีขนาดใหญ่ กลีบดอกสีเหลือง

สรรพคุณทางยาของส้านใบเล็ก

ต้น น้ำต้มเปลือก กินเป็นยาฝาดสมาน และแก้ท้องเสีย

คุณค่าทางโภชนาการของส้านใบเล็ก

การแปรรูปของส้านใบเล็ก

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11829&SystemType=BEDO
www.flickr.com

Add a Comment