ว่านหางช้าง ว่านสิริมงคล นิยมนำมาปลูกไว้หน้าบ้านจะช่วยป้องกันสิ่งอัปมงคลเข้าบ้าน

ว่านหางช้าง

ชื่ออื่นๆ : ว่านหางช้าง (กรุงเทพฯ) ว่านมีดยับ, ว่านแม่ยับ (ภาคเหนือ)

ต้นกำเนิด : ตะวันออกของทวีปเอเชีย

       ชื่อสามัญ : Black Berry Lily, Leopard Flower

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Belamcanda chinensis (L.) DC.

ชื่อวงศ์ : IRIDACEAE

ลักษณะของว่านหางช้าง

ต้น ไม้ล้มลุกขนาดเล็กอายุหลายปี มีลำต้นใต้ดินเป็นเหง้าทอดเลื้อยไปตามพื้นดินลำต้นกลมเป็นข้อๆ สูงประมาณ 50-120 ซม. ลำต้นมีสีเหลือง

ใบ ใบเดี่ยว แทงออกจากเหง้า เรียงซ้อนสลับ แผ่ออกเป็นพัด 2 แถว ตัวใบตรงเรียวยาว กว้าง 2-3 ซม. ยาว 30-45 ซม. ผิวใบมีไขเคลือบ เนื้อใบค่อนข้างหนา

ดอก ดอกช่อ  ออกตรงปลายยอด มีก้านช่อตั้งตรง ปลายช่อแยกเป็นช่อดอก 2-3 ช่อ มีกลีบรองดอกเป็นแผ่นยาวและบาง ดอกมี 6กลีบ สีส้มมีจุดประสีแดงกระจาย

ผล ผลเป็นผลแห้ง มีลักษณะยาวมี 3 พู เมื่อผลสุกจะแตกออกเป็น 3 กลีบ

ว่านหางช้าง
ว่านหางช้าง ใบเดี่ยว แทงออกจากเหง้าผิวใบมีไขเคลือบ เนื้อใบค่อนข้างหนา

การขยายพันธุ์ของว่านหางช้าง

การใช้เมล็ด, การแยกเหง้า

ธาตุอาหารหลักที่ว่านหางช้างต้องการ

ประโยชน์ของว่านหางช้าง

  • ต้นว่านหางช้างมีความโดดเด่นสวยงาม มีลำต้นที่สูงยาวสีเหลืองเปรียบเสมือนทอง จึงนิยมใช้ปลูกเป็นไม้ประดับ และมีความเชื่อว่าจะช่วยเสริมโชคลาภ ความสง่างาม เสริมสง่าราศีให้แก่เจ้าบ้าน และยังใช้เพื่อช่วยปรับฮวงจุ้ยตามหลักความเชื่อของชาวจีนอีกด้วย
  • มีความเชื่อว่าว่านหางช้างเป็นว่านมหาคุณ เมื่อนำมาปลูกไว้หน้าบ้านจะช่วยป้องกันสิ่งอัปมงคลเข้าบ้าน ช่วยป้องกันภัยจากอันตรายต่าง ๆ ส่วนทางภาคอีสานเชื่อว่าเป็นว่านสิริมงคล หากแม่บ้านกำลังจะคลอดบุตร ให้ใช้ว่านหางช้างมาพัดโบกที่ท้องก็จะช่วยทำให้คลอดบุตรได้ง่ายขึ้น
  • ประโยชน์ว่านหางช้าง ยังถูกนำมาใช้ในด้านคุณไสยได้อีกด้วย โดยใช้ดอกแก้ไสยคุณที่เกิดจากการกระทำจากผม ส่วนใบใช้แก้ไสยคุณอันเกิดจากการกระทำจากเนื้อ ส่วนต้นใช้แก้ไสยคุณอันเกิดจากการกระทำจากกระดูก
ดอกว่านหางช้าง
ดอกว่านหางช้าง ดอกมี สีส้มมีจุดประสีแดง

สรรพคุณทางยาของว่านหางช้าง

ส่วนที่ใช้ : ราก เหง้าสด ใบ เนื้อในลำต้น
สรรพคุณ :

  • ราก เหง้าสด – แก้เจ็บคอ
  • ใบ – เป็นยาระบายอุจจาระและแก้ระดูพิการของสตรีได้ดี
  • เนื้อในลำต้น
    – เป็นยาบำรุงธาตุ แก้โรคระดูพิการของสตรี
    – ใช้บำบัดโรคต่อมทอนซิลอักเสบ
    – ใช้เป็นยาถ่าย

วิธีและปริมาณที่ใช้ : แก้เจ็บคอ ใช้ราก หรือเหง้าสด 5-10 กรัม แห้ง 3-6 กรัม ต้มน้ำรับประทาน เป็นยาระบาย และแก้ระดูพิการของสตรี ใช้ใบ 3 ใบ ปรุงในยาต้ม

ความรู้เพิ่มเติม – เกี่ยวกับทางด้านความเชื่อ มีความเชื่อกันว่าเป็นว่านมหาคุณ ปลูกไว้หน้าบ้านกันภัยอันตรายต่างๆ เพราะสามารถนำว่านนี้มาใช้ประโยชน์ทางไสยคุณได้ เช่น

  • ดอก – ใช้แก้ไสยคุณที่เกิดจากการกระทำจากผม
  • ใบ – ใช้แก้ไสยคุณที่เกิดจากการกระทำจาก เนื้อ
  • ต้น – ใช้แก้ไสยคุณที่เกิดจากการกระทำจาก กระดูก ในภาคอีสาน นิยมปลูกเป็นว่านศิริมงคล แม่บ้านกำลังจะคลอดลูก ใช้ว่านหางช้างนี้พัดโบกที่ท้องเพื่อให้คลอดลูกง่ายขึ้น

คุณค่าทางโภชนาการของว่านหางช้าง

การแปรรูปของว่านหางช้าง

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9181&SystemType=BEDO
https://il.mahidol.ac.th
https://www.flickr.com

Add a Comment