หยีทะเล
ชื่ออื่นๆ : กายี, ราโยด (ใต้); ปากี้ (มลายู-สงขลา); หยีทะเล
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : หยีทะเล
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Derris indica (Lamk.) Benn.
ชื่อวงศ์ : FABACEAE (LEGUMINOSAE-PAPILIONOIDEAE)
ลักษณะของหยีทะเล
เป็นไม้ต้น สูง 5–15(–20) ม. เรือนยอดค่อนข้างกลม ถึงแผ่เป็นพุ่มกว้าง ลำต้นมักคดงอและแตกกิ่งต่ำ เปลือกเรียบ สีเขียวแกมน้ำตาลเทาคล้ำ ผิวเปลือกในสีเขียว เปลือกชั้นในสีน้ำตาลอ่อนประขาว ใบ ประกอบรูปขนนกปลายคี่ เรียงสลับ ก้านใบรวมแกนช่อใบยาว 10–15 ซม. ใบเรียงตรงข้ามกัน 3 คู่ และที่ปลายก้านอีก 1 ใบ แผ่นใบย่อยรูปไข่แกมรูปขอบขนาน ถึงรูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับ เรียงจากเล็กไปหาใหญ่
กว้าง 3–4.5 ซม. ยาว 5–12 ซม. ผิวเกลี้ยงทั้งสองด้าน ด้านบนสีเขียวเข้มกว่าด้านล่าง ปลายเรียวแหลม โคนสอบ เส้นแขนงใบย่อย 8–10 คู่ ดอก สีชมพู เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 ซม. ออกเป็นช่อตามง่ามใบและปลายกิ่ง ผล ค่อนข้างแบน เบี้ยว รูปขอบขนาน ปลายแหลมโค้งลง กว้าง 2.5–3 ซม. ยาว 5–7.5 ซม. มี 1–2 เมล็ด หยีน้ำมีการกระจายพันธุ์ตามฝั่งแม่น้ำใกล้ทะเล และในป่าชายหาดทางภาคใต้ ในต่างประเทศพบที่อินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ออกดอกเดือนกุมภาพันธ์–เมษายน ผลแก่ประมาณ 4–5 เดือนหลังจากออกดอก เนื้อไม้ใช้ทำฟืน เสารั้ว ด้ามเครื่องมือเครื่องใช้ในการเกษตร

การขยายพันธุ์ของหยีทะเล
ใช้ส่วนอื่นๆ/การขยายพันธุ์หยีด้วยวิธีการตัดชำกิ่งกึ่งอ่อนกึ่งแก่และทาบกิ่งแบบต่างๆ โดยชำกิ่งลักษณะกึ่งอ่อน กึ่งแก่ มีใบติดและไม่มีใบ
ธาตุอาหารหลักที่หยีทะเลต้องการ
ประโยชน์ของหยีทะเล
เนื้อไม้ใช้ทำฟืน เสารั้ว ด้ามเครื่องมือเครื่องใช้ในการเกษตร
สรรพคุณทางยาของหยีทะเล
–
คุณค่าทางโภชนาการของหยีทะเล
การแปรรูปของหยีทะเล
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9591&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com