หว้านา
ชื่ออื่นๆ : เสม็ดแดง, หว้า, หว้าทุ่ง, หว้าแดง
ต้นกำเนิด : เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ชื่อสามัญ : –
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Syzygium cinereum (Kurz) Chantar.& J.Parn
ชื่อพ้อง :S. cinerascens C.Presl, S. cinereum (Kurz) Wall. ex Merr. & L.M. Perry, Eugenia cinerea Kurz, E. ixoroides Elmer, E. operculata var. orientalis Craib ,E. pseudosubtilis var. subacuminata
ชื่อวงศ์ : Myrtaceae
ลักษณะของหว้านา
ต้น ไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูงได้ถึง 20 เมตร ไม่ผลัดใบ ทรงพุ่มกลมหรือรูปไข่ กิ่งอ่อนรูปสี่เหลี่ยม เปลือกต้นสีเทาอ่อนหรือสีออกน้ำตาล แตกเป็นร่องลึกตามยาว

ใบ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปขอบขนาน ขนาดกว้าง 3-8 ซม. ยาว 7-16 ซม. ปลายใบมนป้าน ฐานใบสอบเรียว ขอบใบเรียบ เป็นคลื่นเล็กน้อย แผ่นใบหนาและเหนียว ผิวใบเรียบเกลี้ยง เส้นใบข้าง 6-12 คุ่ เส้นใบที่ขอบใบ 1 หรือ 2 เส้น เส้นใบปิดขนานขอบด้านข้าง เส้นกลางใบจมจากด้านบน ก้านใบยาว 0.5-1.6 ซม. กิ่งก้านสีครีมอ่อน เปลือกหลุดลอกได้ ใบอ่อนสีน้ำตาลอมแดง

ดอก ดอกช่อแบบช่อกระจุกแยกแขนง ออกตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ดอกเล็กสีเขียวอมเหลือง ช่อดอกยาวได้ถึง 8 ซม. ดอกย่อย 30-40 ดอก เส้นผ่านศูนย์กลางดอก 1-1.5 เซนติเมตร ดอกย่อยไม่มีก้านดอก กลีบดอก 4 กลีบ เชื่อมเป็นถุงปิดดอกตูม และหลุดเมื่อดอกบาน กลีบมีต่อมเป็นจุดๆ เกสรตัวผู้จำนวนมาก สีขาว ปลายสีเหลืองอ่อน เกสรตัวผู้วงนอกขนาด 1.5-2.5 มม. ก้านเกสรตัวเมียยาวไม่เกิน 1.5 มม. ชั้นกลีบเลี้ยง 2.3 มม. เชื่อมติดกับฐานรองดอกรูปกรวย ปลาย 4 แฉก สีเขียวอ่อน ออกดอกราวเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคม

ผล ผลสดรูปทรงกลมแป้น ขนาด 1.3-1.5 ซม. สีเขียวแล้วเปลี่ยนเป็นสีชมพู เมื่อสุกมีสีแดงเข้ม ถึงม่วงดำ ปลายหรือก้นผลบุ๋ม รวมกันเป็นพวง ผลสุกรสหวานอมเปรี้ยว มีรสฝาดเล็กน้อย ฉ่ำน้ำ รับประทานได้ มี 1 เมล็ด ทรงกลมแป้น สีน้ำตาลอ่อน ติดผลราวเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม

การขยายพันธุ์ของหว้านา
การเพาะเมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่หว้านาต้องการ
ประโยชน์ของหว้านา
- ผลรับประทานได้
- เนื้อไม้ใช้ก่อสร้าง
สรรพคุณของหว้านา
- เปลือกต้น รสฝาด ต้มน้ำดื่มรักษาโรคบิด ต้มอมแก้ปากเปื่อย คอเปื่อย เป็นเม็ดเนื่องจากร้อนใน แก้น้ำลายเหนียว
- ใบ แก้บิด
- ผล แก้ท้องร่วง
- เมล็ด รสฝาด แก้ท้องร่วง และบิด ถอนพิษแสลงใจ ลดน้ำตาลในเลือด ตำเป็นผงแก้ปัสสาวะมาก
- เปลือกและใบ รสฝาด ตำเป็นยาอม ยากวาด รักษาปากคอเปื่อย เป็นเม็ดตามลิ้นและคอ แก้น้ำลายเหนียว
คุณค่าทางโภชนาการของหว้านา
การแปรรูปหว้านา
สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับการเกษตร เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ภาพประกอบ : www.flickr.com
ผลทานสดรสหวานอมเปรี้ยว แก้ท้องร่วง