หอมหัวใหญ่ ใช้รับประทานสด เป็นผักสลัด หรือใช้ในการปรุงอาหารได้หลายชนิด

หอมหัวใหญ่

ชื่ออื่นๆ : หอมใหญ่, หอมฝรั่ง (ทั่วไป) หอมหัวหลวง, หอมจีน (ภาคเหนือ) ชงโกว, หูชง, ยวี่ชง (จีน)

ต้นกำเนิด : ทวีปเอเชียกลาง ทวีปเอเชียตะวันตกเฉียงใต้

ชื่อสามัญ : Onion, Top onion, Potato onion, Beltsville bunching onion, Dry bulb onion.

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Allium cepa L.

ชื่อพ้อง : Allium cepa L. var. typicum Baker

ชื่อวงศ์ : ALLIACEAE

ลักษณะของหอมหัวใหญ่

เป็นพืชล้มลุก ตระกูลเดียวกับหอมแดง ต้นสูงประมาณ 30-40 เซนติเมตร ลำต้นเป็นหัวอยู่ใต้ดิน มีลักษณะกลม มีเปลือกนอกบางๆ หุ้มอยู่ เมื่อแห้งจะมีสีน้ำตาลอ่อน ภายในเป็นกาบสีขาวซ้อนกัน ลักษณะของดอกมีสีขาว เป็นช่อ มีดอกย่อยเป็นจำนวนมาก ก้านช่อดอกยาว แทงออกจากลำต้นใต้ดิน

ต้นหอมหัวใหญ่
ต้นหอมหัวใหญ่ ลำต้นเป็นหัวอยู่ใต้ดิน ลักษณะกลม
ดอกหอมหัวใหญ่
ดอกหอมหัวใหญ่ ดอกมีสีขาวเป็นช่อ มีดอกย่อยเป็นจำนวนมาก

การขยายพันธุ์ของหอมหัวใหญ่

ใช้เมล็ด

ช่วงเวลาในการเพาะปลูกและเก็บผลผลิต : ให้ผลผลิต 2 ครั้งใน 1 ปี คือ ช่วงเดือน มกราคม ถึง เมษายน และในช่วงเดือน พฤศจิกายน ถึง กุมภาพันธ์

ธาตุอาหารหลักที่หอมหัวใหญ่ต้องการ

ประโยชน์ของหอมหัวใหญ่

  • หอมหัวใหญ่ใช้รับประทานสด เป็นผักสลัด หรือใช้ในการปรุงอาหารได้หลายชนิด เช่น ซุปพาสต้า ยำ ผัด ต้ม เป็นต้น
  • การทานหอมหัวใหญ่ จะช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย, ช่วยในการนอนหลับได้สบายมากขึ้น, ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ, ลดความเสี่ยงของอัมพาต, แก้ท้องร่วง, รักษาแผลเป็นหนอง, รักษาโรคผิวหนัง, กลาก, รังแค เป็นต้น

สรรพคุณทางยาของหอมหัวใหญ่

หอมใหญ่ช่วยลดการอุดตันไขมันในเส้นเลือด ลดคลอเลสเตอรอลในเลือด ช่วยเพิ่มไขมันชนิดดี (HDL: High-density lipoproteins) และช่วยทำหน้าที่ป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน สารกำมะถันในหอมใหญ่ช่วยยับยั้งการก่อตัวของเซลล์มะเร็ง เมื่อตำผสมกับเหล้าเล็กน้อยแล้วนำมาพอก จะลดการอักเสบอาการบวมได้

รักษาไข้หวัด แก้คัดจมูก กลิ่นอันเป็นเอกลักษณ์ ของพืชตระกูลหอม และหอมหัวใหญ่ มีผลอย่างมากในการรักษาอาการหวัดเบื้องต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคนที่มีอาการคัดจมูกน้ำมูกไหลด้วยแล้ว ให้นำเอาหอมหัวใหญ่มาหั่นเป็นชิ้น และทุบพอแตกเพื่อให้น้ำมันของหัวหอมออกมา จากนั้น นำหัวหอมไปแช่ในน้ำร้อน และสูดดมไอความร้อน จะช่วยให้โล่งจมูก และหายปวดศีรษะได้เป็นอย่างดี

หัวหอมใหญ่
หัวหอมใหญ่ มีเปลือกบางหุ้มอยู่ เมื่อแห้งจะมีสีน้ำตาลอ่อน

คุณค่าทางโภชนาการของหอมหัวใหญ่

การแปรรูปของหอมหัวใหญ่

หอมหัวใหญ่แห้งจัดเป็นอาหารแห้ง (dried food) ใช้ผสมในเครื่องปรุงรส เช่น ผงปรุงรสในบะหมีสำเร็จรูป (instant noodle) ได้จากการนำหัวหอมใหญ่มาปอกเปลือก ล้างทำความสะอาด หั่นชิ้นเล็ก แล้วทำแห้ง (dehydration) มักใช้การทำแห้งด้วยตู้อบลมร้อน (tray drier) เพื่อลดความชื้น และลด water activity

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=12123&SystemType=BEDO
www.flickr.com

Add a Comment