เถาเอ็นอ่อน
ชื่ออื่นๆ : เครือเถาเอ็นอ่อน (อำนาจเจริญ) กวน (ฉาน-แม่ฮ่องสอน) เครือเถาเอ็น (เชียงใหม่) ตีนเป็ดเครือ (ภาคเหนือ) เมื่อย (ภาคกลาง) นอออหมี (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) หญ้าลิเลน (ปัตตานี) หมอนตีนเป็ด (สุราษฎร์ธานี)
ต้นกำเนิด : พืชท้องถิ่นของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงประเทศไทย มักพบขึ้นตามป่าราบหรือตามที่รกร้างทั่วทุกภาค แต่มักพบมากทางจังหวัดสระบุรี
ชื่อสามัญ : –
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cryptolepis buchanani Roem.& Schult
ชื่อวงศ์ : APOCYNACEAE
ลักษณะของเถาเอ็นอ่อน
ต้น ไม้เลื้อยพาดพันต้นไม้อื่น เปลือกเถาเรียบสีน้ำตาลอมดำ พอแก่เปลือกจะหลุดล่อนออกเป็นแผ่น ทุกส่วนของต้นมี น้ำยางสีขาว
ใบ เป็นใบเดี่ยวออกตรงข้ามกัน ใบรูปรี ปลายใบมนมีหางสั้น โคนใบสอบ หลังใบเรียบเป็นมันและลื่น ท้องใบเรียบสีขาวนวล ก้านใบสั้น
ดอก ออกเป็นดอกช่อ ตามซอกใบ ดอกย่อยสีเหลืองอ่อน กลีบดอก 5 กลีบ โคนกลีบดอกเชื่อมติดกัน กลีบเลี้ยงสีเขียว 5 กลีบ
ผล ทรงกระบอก ติดกันเป็นคู่ ปลายผลแหลม ผิวเป็นมันลื่น พอแก่แตกออกด้านเดียว เมล็ดรูปรีสีน้ำตาล มีขนปุยสีขาวติดอยู่

การขยายพันธุ์ของเถาเอ็นอ่อน
การเพาะเมล็ดและการใช้เถาปักชำ
ธาตุอาหารหลักที่เถาเอ็นอ่อนต้องการ
ประโยชน์ของเถาเอ็นอ่อน
สรรพคุณทางยาของเถาเอ็นอ่อน
ส่วนที่ใช้ : เถา ใบ
สรรพคุณ
- เถา ต้มรับประทานเป็นยาแก้เมื่อย ทำให้เส้นเอ็นหย่อน จิตใจชุ่มชื่น เป็นยาบำรุงเส้นเอ็นในร่างกายให้แข็งแรง แก้เส้นเอ็นพิการ
- ใบ ใช้โขลกให้ละเอียด ห่อผ้าทำลูกประคบ ประคบตามเส้นเอ็นที่ปวดเสียวและตึงเมื่อยขบ ทำให้เส้นยืดหย่อนดี
- เมล็ด รสขมเมา ขับลมในกระเพาะอาหาร แก้จุกเสียด แน่นเฟ้อ
ตำรายาไทยใช้เถาต้มดื่ม เป็นสมุนไพรที่มีการนำมาใช้ในสูตรยาอบสมุนไพรเพื่อสุขภาพ โดยใช้เป็นส่วนประกอบเพิ่มเติมจากสูตรยาอบสมุนไพรหลัก เมื่อต้องการอบเพื่อรักษาอาการปวดเมื่อย ปวดหลัง ปวดเอว

คุณค่าทางโภชนาการของเถาเอ็นอ่อน
การแปรรูปของเถาเอ็นอ่อน
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11678&SystemType=BEDO
www.flickr.com