เดหลีใบมัน
ชื่ออื่นๆ : เจ็ดทิวา, เดหลีดอกขา, เดหลีใบเล็ก, หน้าวัวไทย
ต้นกำเนิด : เขตร้อนชื้นในทวีปอเมริกาเหนือและใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ชื่อสามัญ : เดหลีใบเล็ก
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Spathiphyllum sp.
ชื่อวงศ์ : Araceae
ลักษณะของเดหลีใบมัน
ต้น ไม้ล้มลุกอายุหลายปี มีเหง้าใต้ดิน แตกเป็นกอ ลำต้นเหนือดินแตกหน่อออกด้านข้างทำให้เป็นกอจนแลดูเป็นทรงพุ่มขนาดเล็ก
ใบ ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ รูปรีแกมรูปขอบขนาน ยาว 25-30 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ขอบใบเป็นคลื่นเล็กน้อย ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมันและเป็นร่องตามแนวเส้นใบชัดเจน ก้านใบยาว กาบใบมีปีก
ดอก สีขาวบางพันธุ์มีกลิ่นหอม ออกเป็นช่อแบบช่อเชิงลดที่ปลายกิ่ง มีจานรองดอกสีขาวรูปไข่ โค้งงอเล็กน้อย กว้าง 4-5 เซนติเมตร ยาว 18-21 เซนติเมตร ปลายเรียวแหลมด้านหลังอาจมีสีเขียวปนบ้าง ปลีดอกยาว 5-6 เซนติเมตร ดอกย่อยมีขนาดเล็กมีกลีบดอก 6 กลีบ โคนกลีบดอกเชื่อมติดกัน
ผล ผลสดมีเนื้อ มีเมล็ดจำนวนมาก

การขยายพันธุ์ของเดหลีใบมัน
ใช้หัว/เหง้า/หน่อ/แยกเหง้าปลูกได้เลย
ธาตุอาหารหลักที่เดหลีใบมันต้องการ
ประโยชน์ของเดหลีใบมัน
- ปลูกประดับ เป็นไม้กระถาง
- ปลูกลงแปลงในที่ร่ม ริมน้ำตก ลำธาร สระว่ายน้ำ
สรรพคุณทางยาของเดหลีใบมัน
–
คุณค่าทางโภชนาการของเดหลีใบมัน
การแปรรูปของเดหลีใบมัน
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10661&SystemType=BEDO
www.flickr.com