การที่เกสรทุเรียนผสมกันเองตามธรรมชาติ จะทำให้ทุเรียนจะติดผลน้อย โดยเฉพาะทุเรียนพันธุ์ชะนีจะติดผลไม่เกิน 3 เปอร์เซ็นต์และพันธุ์ ก้านยาวจะติดผลไม่เกิน 7 เปอร์เซ็นต์ และทุเรียนมักจะติดผลปลายกิ่งหรือกิ่งเล็ก ทําให้การดูแลรักษา การเก็บเกี่ยวลําบากต้องมีการโยกกิ่ง มักทําให้กิ่งฉีกหักได้ง่าย โดยเฉพาะเมื่อมีลมพายุ หรือฝนตกหนัก หากปล่อยทิ้งไว้จะทําให้การปลูกทุเรียนได้ผลตอบแทนไม่คุ้มค่ากับการลงทุน

การแก้ไข
การนําเทคนิคการผสมเกสรทุเรียนมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการติดผลของทุเรียนจึงเป็นวิธีการหนึ่งที่จะช่วยให้การติดผลของทุเรียนเกิดขึ้นได้ช้า เร็ว หรือมีขนาดของผลเท่าๆ กัน และมีคุณภาพดีได้ด้วยนั้น เพียงใช้ขั้นตอนการปฏิบัติง่ายๆ ดังนี้
การเตรียมอุปกรณ์
อุปกรณ์ที่ใช้ในการผสมเกสรทุเรียน มีดังนี้
- พู่กัน
- บันได
- ถุงผ้าขาวบาง
- กรรไกรตัดแต่งกิ่ง
- กรรไกรเล็ก
- ขวดหรือกระบอกพลาสติก
- ไฟฉายหรือแสงสว่างชนิดอื่น
- ป้ายสําหรับบันทึกชื่อพันธุ์วัน เดือน ปี
ขั้นตอนการผสมเกสรทุเรียน
- เวลา 09.00-12.00 น. ใช้กรรไกรเล็กตัดแต่งดอกพันธุ์แม่ให้เหลือเฉพาะดอกขาว และตัด เกสรตัวผู้ออกทิ้ง หลังจากนั้นใช้ถุงผ้าขาวบางคลุมดอกขาวพันธุ์แม่ไว้
- เวลา 19.00-19.30 น. ทําการเก็บละอองเกสรตัวผู้ ของพันธุ์พ่อโดยใช้กรรไกรเล็กตัด เฉพาะอับละอองเกสรตัวผู้ที่แตกใส่ไว้ในขวดหรือกระบอกพลาสติกสําหรับละอองเกสรนี้สามารถมองเห็นไดด้วยตาเปล่าซึ่งจะมีลักษณะเป็นละอองสีขาวเกาะติดอยู่กับอับละอองเกสร
- เวลา 19.30 น. เป็นต้นไป เริ่มทําการผสมเกสร โดยใช้ปลายพู่กันแตะละอองเกสรตัวผู้แล้วนําไปแตะที่ยอดเกสรตัวเมียพันธุ์แม่ ซึ่งดอกเกสรพันธุ์แม่จะมีลัษณะดอกกลม สีเหลือง แล้วคลุมด้วยผ้าขาวบางไว้ตามเดิม ผูกป้ายบันทึก เขียนชื่อพันธุ์วัน เดือน และ ปี ที่ทำการผสมเกสร กิ่งทุเรียน ในแต่ละต้นมักจะมีระดับความสูงต่ำต่างกัน จึงแนะนําให้ปฏิบัติด้วยวิธีการดังนี้

วิธีผสมเกสรกิ่งที่อยู่ในระดับต่ำ
- ตัดดอกทุเรียนที่กำลังบานและพร้อมที่จะผสมเกสรของพันธุ์พอ ในเวลา 19.00-19.30 น. ไปทําการผสมเกสรโดยให้ส่วนของอับเกสรตัวผู้ที่มีละอองเกสรตัวผู้สีขาวไปแตะกับยอดเกสรตัวเมียพันธุ์แม่
- ตัดเฉพาะชุดของเกสรตัวผู้พันธุ์พ่อโดยใช้มือจับก้านเกสรตัวผู้ ซึ่งที่ปลายก้านจะมี อับละอองเกสรตัวผู้เกาะอยู่ แล้วนําไปแตะกับยอดเกสรตัวเมียพันธุ์แม่
- ตัดเฉพาะอับละอองเกสรตัวผู้ที่มีละอองเกสรสีขาวเกาะอยู่ภายในดอกพันธุ์พ่อใส่ขวด แล้วใช้ปลายพู่กันแตะละอองเกสรตัวผู้นำไปแตะที่ยอดเกสรตัวเมียพันธุ์แม่
วิธีผสมเกสรกิ่งที่อยู่ในระดับสูง
- เก็บละอองเกสรตัวผู้พันธุ์พ่อใส่ขวดผูกเชือกแล้วคล้องคอ ซึ่งเกษตรกจะต้องทําการปีนขึ้นต้นทุเรียนแล้วใช้ปลายพู่กันแตะละอองเกสรตัวผู้ในขวดนําไปแตะที่ยอดเกสรตัวเมียพันธุ์แม่
- ทําการเก็บละอองเกสรตัวผู้พันธุ์พ่อใส่ในกระป๋องพลาสติก แล้วใช้แปรงขนอ่อนต่อด้ามไม้ยาว ใช้ปลายแปลงแตะละอองเกสรตัวผู้ในกระป๋องนําไปแตะที่ยอดเกสรตัวเมียพันธุ์แม่ วิธีนี้ไม่ต้องปีนขึ้นไปผสมเกสรบนต้นทุเรียนในกรณีต้นพันธุ์พ่ออยู่ใกล้กับต้นพันธุ์แม่ ไม่ว่าจะเป็นกิ่งต่ำหรือกิ่งสูง สามารถใช้แปรงขนอ่อนแตะละอองเกสรตัวผู้พันธุ์พ่อแล้วนําไปแตะที่ยอดเกสรตัวเมียพันธุ์แม่ได้เลย
คู่พันธุ์ที่เหมาะสมในการผสมเกสร
การเลือกคู่พันธุ์ทุเรียนที่เหมาะสมสําหรับการผสมเกสรเพื่อให้ทุเรียนติดได้ผลดี สามารถเลือกจากคู่พันธุ์เหมาะสมได้ดังนี้
- เกสรตัวผู้พันธุ์หมอนทองและก้านยาว ผสมกับ พันธุ์แม่ชะนี
- เกสรตัวผู้พันธุ์หมอนทองและชะนี ผสมกับ พันธุ์แม่ก้านยาว
- เกสรตัวผู้พันธุ์หมอนทองและชะนี ผสมกับ พันธุ์แม่อีหนัก
- เกสรตัวผู้พันธุ์หมอนทองต่างต้นและชมพูศรี ผสมกับพันธุ์แม่หมอนทอง
- เกสรตัวผู้พันธุ์ชะนีและชมพูศรี ผสมกับพันธุ์แม่กระดุม

ผลทุเรียนที่เกิดจากการผสมเกสร
ผลทุเรียนที่ได้จากการใช้เทคนิคผสมเกสรนั้นจะสังเกตได้ 2 ลักษณะดังนี้
- ลักษณะภายนอก
– การเจริญเติบโตของผลทุเรียนจะเร็วกว่าการผสมเกสรกันเองตามธรรมขาติ
– รูปทรงของผลสวยงามไม่บิดเบี้ยวพูเต็มเกือบทุกพู - ลักษณะภายใน
– ลักษณะเนื้อทุเรียน สีเนื้อทุเรียน รสชาติไม่แตกต่างจากทุเรียนที่ผสมเกสรกันเองตาม ธรรมชาติ
– ในแม่พันธุ์ชะนี จะได้พูเต็ม และจํานวนพูต่อผลมากขึ้น
– ในแม่พันธุ์กระดุมทอง จะได้เมล็ดลีบตั้งแต่ 29-55 เปอร์เซ็นต์
– ในแม่พันธุ์หมอนทอง จะได้ความหนาของเนื้อมากตั้งแต่ 1.9-2.78 เซ็นติเมตร และมี เมล็ดลีบตั้งแต่ 40-59 เปอร์เซ็นต์

ประโยชน์ที่ได้รับ
- สามารถกําหนดตําแหน่งการติดผล ตามกิ่งที่มีขนาดใหญ่หรือกิ่งที่อยู่ในระดับต่ำได้
- จะช่วยให้ทุเรียนติดผลดีขึ้น
- ช่วยในการปฏิบัติและดูแลรักษาสวนทําได้สะดวก
- สามารถกําหนดวันเก็บเกี่ยวได้ และเก็บเกี่ยวได้ง่าย
- จะทําให้ผลทุเรียนแก่ใกล้เคียงกัน หรือพร้อมกัน
- รูปทรงผลสวยงาม พูเต็มเกือบทุกพู นํ้าหนักและขนาดผลดี
- ลักษณะคุณภาพของเนื้อทุเรียน และรสชาติไม่เปลี่ยนแปลง
- ได้รับผลผลิตทุเรียนมากขึ้น
- ผลผลิตทุเรียนจะเป็นที่ต้องการของตลาด
ราคาขายทุเรียน
ราคา ณ วันที่ 3 เมษายน 3565
- ทุเรียนหมอนทอง (ใหญ่สวย) ราคากิโลกรัมละ 240 บาท / กลางสวย 220 บาท / เล็กสวย ราคากิโลกรัมละ 200 บาท
- ทุเรียนนกกระจิบ (ใหญ่สวย) ราคากิโลกรัมละ 230 บาท / กลางสวย 220 บาท / เล็กสวย ราคากิโลกรัมละ 150 บาท
- ทุเรียนกระดุม (ใหญ่สวย) ราคากิโลกรัมละ 120 บาท / กลางสวย 110 บาท / เล็กสวย ราคากิโลกรัมละ 90 บาท
- ทุเรียนชะนี (ใหญ่สวย) ราคากิโลกรัมละ 120 บาท / เล็กสวย ราคากิโลกรัมละ 90 บาท
- ทุเรียนก้านยาว (ใหญ่สวย) ราคากิโลกรัมละ 120 บาท / เล็กสวย ราคากิโลกรัมละ 100 บาท ราคา ณ วันที่ 18 กันยายน 2464
- ทุเรียนพวงมณี (ใหญ่สวย) ราคากิโลกรัมละ 240 บาท ราคา ณ 30 มีนาคม 2565
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ :
http://www.eto.ku.ac.th
https://www.youtube.com
http://baimai.org
https://www.simummuangmarket.com
https://www.flickr.com
One Comment