เหลืองปรีดียาธร
ชื่ออื่นๆ : ตาเบเหลือง, ตะเบเหลือง, ตาเบบูย่าเหลือง, เหลืองสิรินธร
ต้นกำเนิด : อเมริกาเขตร้อน (ปารากวัย, อาร์เจนตินา, บราซิล)
ชื่อสามัญ : Silver trumpet tree, Tree of gold, Paraguayan silver trumpet tree
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tabebuia argentea Britt.
ชื่อวงศ์ : BIGNONIACEAE
ลักษณะของเหลืองปรีดียาธร
ต้น ไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 3-8 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดรูปไข่ แตกกิ่งก้านเป็นชั้นๆ เปลือกสีน้ำตาล แตกเป็นร่องขรุขระ

ใบ ใบประกอบรูปนิ้วมือ เรียงตรงข้าม ใบย่อย 4-7 ใบ รูปรีแกมรูปขอบขนาน แผ่นใบหนา คล้ายหนัง สีเขียวเหลือบเงิน โคนและปลายใบมน ขอบใบเรียบ

ดอก ดอกออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง กลีบเลี้ยง 5 กลีบ สีเหลือง เชื่อมติดกันเป็นหลอด รูปแตร ออกดอก มกราคม – มีนาคม

ผล ผลแห้งแตก เป็นฝัก ยาว 10 เซนติเมตร สีเทามีเส้นสีดำตามแนวยาว เมล็ดมีปีกเป็นเยื่อใสบางๆ มีจำนวนมาก

การขยายพันธุ์ของเหลืองปรีดียาธร
การเพาะเมล็ด
การปลูกเลี้ยง ดินร่วน
ธาตุอาหารหลักที่เหลืองปรีดียาธรต้องการ
ต้องการแสงแดดจัดตลอดทั้งวัน น้ำปานกลาง ควรให้น้ำ 5-7วัน/ครั้ง
ประโยชน์ของเหลืองปรีดียาธร
- ปลูกเป็นไม้ประดับดอกและใบสวยงาม เหมาะกับสวนธรรมชาติ
- เป็นไม้การค้าสำหรับนักตกแต่งสวน สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำได้อีกด้วย
- เหลืองปรีดียาธร ไม้มงคล มอบความรุ่งเรืองแก่ผู้ปลูก
สรรพคุณทางยาของเหลืองปรีดียาธร
คุณค่าทางโภชนาการของเหลืองปรีดียาธร
การแปรรูปของเหลืองปรีดียาธร
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.forest.go.th
ภาพประกอบ : www.flickr.com
เรียบเรียงข้อมูลโดย : เกษตรตำบล.คอม
ปลูกประดับสวน ในสนามหรือมุมอาคาร ดอกและใบสวยงาม เหมาะกับสวนธรรมชาติ
เป็นไม้การค้าสำหรับนักตกแต่งสวน