ไผ่รวก ไผ่ฮวก หน่อไม้ใช้เป็นอาหาร ลำต้นใช้ทำเครื่องจักสาน

ไผ่รวก ไผ่ฮวก

ชื่ออื่นๆ : ตีโย, ไผ่รวก, ไม้รวก, รวก (ภาคกลาง) ว่าบอบอ, แวปั่ง (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) แวบ้าง (กะเหรี่ยงเชียงใหม่) สะลอม (ชาน แม่ฮ่องสอน) ฮวก (ภาคเหนือ)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : ไผ่รวก

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Thyrsostachys siamensis Gamble

ชื่อวงศ์ : GRAMINEAE

ลักษณะของไผ่รวก ไผ่ฮวก

ต้น ไม้พุ่มไม่ผลัดใบ สูง 7 -15 เมตร อายุหลายปี เป็นไม้พุ่มเป็นกอ ลำต้นตั้งตรง กลมเป็นทรงกระบอก กลวง ขนาด  2.5 เซนติเมตร ผิวเกลี้ยง สีเขียวอมเทา ไม่มีหนาม เนื้อแข็ง มีช้อปล้องชัดเจน แต่ละปล้องจะยาว  สูง 15–30 เซนติเมตร มีเหง้าใต้ดินสั้น ไม่ทอดขนานไปทางระดับ ผิวต้นสดสีเขียวแก่ เมื่อแห้งสีเหลือง

ต้นไผ่รวก
ต้นไผ่รวก ลำต้นตั้งตรง ลำต้นเป็นทรงกระบอก

ใบ  ใบเดี่ยว เรียบสลับ 2 แถว ใบรูปหอก กว้าง 0.6-1.2 เซนติเมตร ยาว 8-14 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบคม ผิวใบด้านบนเรียบ สีเขียวอ่อน ใบแก่สีเหลืองอ่อน มีเส้นลายใบ ข้างละ 3-5 เส้น มีกาบหุ้มลำต้นบางแนบชิดลำต้น ไม่หลุดร่วง ยอดกาบบางเรียวสอบไปหาปลาย ไม่มีติ่ง กาบตอนปลายกาาบตรงที่ต่อกบใบจะมีลิ้นใบ

ใบไผ่รวก
ใบไผ่รวก ใบเดี่ยว ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบคม

ดอก  ออกดอกเป็นกลุ่ม (Gregariour flowering) ไม้ไผ่ที่ออกดอกประเภทนี้ จะออกดอกพร้อมกัน ครอบคลุมพื้นที่เป็นบริเวณกว้าง

การขยายพันธุ์ของไผ่รวก ไผ่ฮวก

ใช้หัว/เหง้า/หน่อ/มีขึ้นเองตามป่าราบและบนเขาสูงๆ แพร่พันธุ์ด้วยหน่อซึ่งจะแทงออกมาจากโคนต้น

พบบริเวณประเทศพม่า และไทย พบทุกภาคของประเทศไทย ชอบขึ้นในที่แล้งหรือที่สูงบนภูเขา อากาศร้อน ไม่ชอบน้ำขัง ชอบดินระบายน้ำดี พบมากที่สุดในจังหวัดกาญจนบุรี

ธาตุอาหารหลักที่ไผ่รวก ไผ่ฮวกต้องการ

ประโยชน์ของไผ่รวก ไผ่ฮวก

  • เนื้อไม้ ทำรั้ง ใช้ทำเครื่องเรือน งานจักสาน เฟอร์นิเจอร์หน่อไม้
  • หน่อใช้เป็นอาหาร
  • ปลูกประดับสวนเป็นฉากหลัง กั้นลม

คติความเชื่อ ไผ่รวกเป็นไม้ตามทิศที่กำหนดไว้ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน) แต่ยังไม่มีหลักฐานยืนยันแน่ชัด

สรรพคุณทางยาของไผ่รวก ไผ่ฮวก

  • ใบ รสขื่น เฝื่อน ขับและฟอกล้างโลหิต ขับระดูขาว แก้มดลูกอักเสบ และขับปัสสาวะ
  • ตา รสเฝื่อน แก้ร้อนใน กระหายน้ำ แก้ไขพิษ
  • หน่อไม้ตาเต่า รสขื่นขม ติดจะร้อน แก้ตับหย่อน ตับทรุด ม้ามย้อย แก้กระษัย และเลือดเป็นก้อน
  • ราก รสกร่อย เอียนเล็กน้อย ใช้ขับปัสสาวะ แก้ไตพิการ ขับนิ่ว

คุณค่าทางโภชนาการของไผ่รวก ไผ่ฮวก

การแปรรูปของไผ่รวก ไผ่ฮวก

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11522&SystemType=BEDO
www.forest.go.th, www.flickr.com

2 Comments

Add a Comment