แคหางค่าง
ชื่ออื่นๆ : แคบิด, แคร้าว, แคลาว (ร้อยเอ็ด) แคพอง (สุราษฎร์ธานี) แคหัวหมู (นครราชสีมา) แคหางค่าง (ทั่วไป) แฮงป่า (จันทบุรี) แคขน (ภาคเหนือ)
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : แคหางค่าง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Fernandoa adenophylla Steenis
ชื่อวงศ์ : BIGNONIACEAE
ลักษณะของแคหางค่าง
ต้น ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก-ขนาดกลาง สูง 5-20 เมตร ลำต้นมักคดงอ เรือนยอดมักเป็นพุ่มกลมทึบ เปลือกนอกสีขาวหม่นหรือสีเทาค่อนข้างเรียบ มีรอยแตกตื้นๆ ตามยาวต้น เปลือกในสีครีมแซม ด้วยริ้วสีเข้ม ตามกิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาลและมีช่องระบายอากาศทั่วไป
ใบ ออกเป็นช่อ ใบย่อยมี 1-4 คู่ ออกตรงข้ามกันที่ปลายสุดของช่อใบ มักเป็นใบเดี่ยวๆ โคนใบมนและ มักเบี้ยว ปลายใบมนและเป็นติ่งแหลมสั้นๆ เนื้อใบหนา หลังใบเกลี้ยง ท้อง ใบมีขนสากๆ ทั่วไป
ดอก สีขาวหรือเหลืองอ่อนออกรวมกันเป็นช่อโตๆ ตามปลายกิ่ง ช่อจะตั้งชี้ขึ้นและยาวถึง 40 ซม. โคนกลีบรองกลีบดอกเป็นถ้วย กลีบดอกเป็นหลอดส่วนช่วงบนขยายกว้าง ปลายเป็นริ้วๆ เกสรตัวผู้มี 2 คู่ สั้น 1 คู่ และยาว 1 คู่
ผล เป็นฝักรูปทรงกระบอกแต้โค้งงอเหมือนหางค่าง ขนาดฝักกว้าง 1.5-2.5 ซม. ยาว 35-70 ซม. จะมีสันเป็นเส้นตามยาวฝัก 5 สัน และมีขนสีน้ำตาลแดงทั่วไป ฝักแก่แตกตามรอยประสาน
เมล็ด เมล็ดแบน มีเยื่อบางๆ ตามขอบคล้ายปีก


การขยายพันธุ์ของแคหางค่าง
ใช้เมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่แคหางค่าง
ประโยชน์ของแคหางค่าง
ดอกและฝักอ่อนใช้เป็นผักจิ้มน้ำพริก แต่ต้องต้มให้สุกเสียก่อนเพราะมีรสขมเล็กน้อย
สรรพคุณทางยาของแคหางค่าง
- เมล็ดใช้เป็นยาบำรุงโลหิต
- เมล็ดใช้เป็นยาขับเสมหะ
- ตำรายาพื้นบ้านล้านนาจะใช้เปลือกต้นแคหางค่าง นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ท้องอืดเฟ้อ
- ใบใช้เป็นยาห้ามเลือด
- ใบใช้ตำพอกรักษาแผล แผลสด แผลถลอก แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก
- ใบใช้ต้มกับน้ำอาบหรือนำมาตำคั้นเอาน้ำเป็นยาทาหรือพอกแก้โรคผิวหนัง ผื่นคัน หูด
- ชาวเขาเผ่าอีก้อ กะเหรี่ยงจะใช้ราก ต้น และเปลือกผล นำมาต้มกับน้ำอาบบรรเทาอาการปวดตามร่างกาย ปวดหลัง
- เมล็ดใช้เป็นยาแก้โรคชัก

คุณค่าทางโภชนาการของแคหางค่าง
การแปรรูปของแคหางค่าง
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=12110&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com