ทุ้งฟ้า ทุ้งฟ้าไก่
ชื่ออื่นๆ : กระทุ้งฟ้าไห้, ทุ้งฟ้าไก่ (ชุมพร) ตีนเทียน (สงขลา) ทุ้งฟ้า (ภาคใต้) พวงพร้าว (ปัตตานี)
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : –
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Alstonia macrophylla Wall.ex G.Don
ชื่อวงศ์ : APOCYNACEAE
ลักษณะของทุ้งฟ้า ทุ้งฟ้าไก่
ต้น ไม้ต้น ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 15 – 25 เมตร ไม่ผลัดใบ ลำต้นเปลาตรง เรือนยอด ค่อนข้างโปร่ง เปลือก สีขาว อมเทา หรือสีเทาอ่อน มีรูระบายอากาศทั่วไป
ใบ ใบเดี่ยว เวียนสลับกันตามปลายกิ่ง แผ่นใบ รูปไข่แกมรูปหอกกลับ ปลายใบเป็นติ่งแหลม ท้องใบมีคราบสีขาว หลังใบสีเขียว
ดอก สีขาวออกเป็นช่อตามง่ามใบตอนปลายกิ่ง หรือขาวอมเหลืองเชื่อมติดกันเป็นหลอด ออกดอกช่วง เดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์
ผล เป็นฝักเมื่อแก่แตกบิดเป็นเกลียว เมล็ดเล็กมีพู่สีขาวปลิวได้ ผลแก่เดือน เมษายน-มิถุนายน


การขยายพันธุ์ของทุ้งฟ้า ทุ้งฟ้าไก่
ใช้เมล็ด/โดยเมล็ด
1. เมล็ดงอกใช้เวลาประมาณ 7 – 15 วัน
2. ย้ายชำลงถุงเมื่อกล้าไม้มีใบ 2 – 3 คู่ อายุประมาณ 3 อาทิตย์
3. ภายในระยะเวลา 3 เดือน ต้นกล้าจะมีความสูงประมาณ 30 ซม. สามารถย้ายปลูกได้
ธาตุอาหารหลักที่ทุ้งฟ้า ทุ้งฟ้าไก่ต้องการ
ประโยชน์ของทุ้งฟ้า ทุ้งฟ้าไก่
- ไม้ใช้กระดานพื้น ฝา เครื่องเรือน และเครื่องใช้เบา ๆ ลักษณะเนื้อไม้คล้ายไม้ตีนเป็ด
- พันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดกระบี่ ที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถได้พระราชทานให้กับผู้ว่าราชการจังหวัดของแต่ละจังหวัด เพื่อให้นำไปปลูกเป็นสิริมงคลแก่จังหวัดและเพื่อเป็นการรณรงค์ให้ประชาชนปลูกต้นไม้ใน “โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ” เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 ทรงครบรอบปีที่ 50 ในการครองราชสมบัติ ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2537

สรรพคุณทางยาของทุ้งฟ้า ทุ้งฟ้าไก่
- ราก ใช้ผสมยาบำรุงร่างการ บำรุงกำหนัด
- เปลือก ใช้แก้ไข้ บำรุงรักษาโรคมาลาเรีย แก้บิด ขับระดู
- ใบ ตำผสมกับน้ำมันมะพร้าวทำให้ร้อน ใช้เป็นยาพอกแก้ข้อต่อเคลื่อน
คุณค่าทางโภชนาการของทุ้งฟ้า ทุ้งฟ้าไก่
การแปรรูปของทุ้งฟ้า ทุ้งฟ้าไก่
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11770&SystemType=BEDO
www.flickr.com
One Comment