ทองหลางป่า
ชื่ออื่นๆ : ตองหลาง (แพร่), ทองบก (น่าน), ทองมีดขูด (ภาคเหนือ), ทองหลาง (ภาคกลาง), เก๊าตอง (คนเมือง), ไม้ตองหนาม, ไม้ตองน้ำ (ไทใหญ่) ยาเซาะห่ะ (อาข่า)
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : Indian Coral Tree, December Tree
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Erythrina subumbrans Merr.
ชื่อวงศ์ : FABACEAE (LEGUMINOSAE-PAPILIONOIDEAE)
ลักษณะของทองหลางป่า
ไม้ยืนต้นผลัดใบ สูง 10-20 ม. ลำต้นมีหนามแหลมทั่วไป ใบ เป็นใบประกอบ มีใบย่อย 3 ใบรูปหัวใจ โคนใบตัดหรือมน ปลายใบแหลม กว้าง 5-10 ซม. ยาว 8-14 ซม. เส้นใบด้านล่างเด่นชัด ที่โคนก้านใบจะมีต่อม 1 คู่ ดอก สีแดงสด ออกเป็นช่อเดี่ยว ดอกลักษณะคล้ายดอกถั่ว ดอกล่างจะบานก่อน กลีบรองดอกเป็นหลอด กลีบดอก 5 กลีบ กลีบบนแผ่โค้งรูปเรือ เกสรผู้ 10 อันอยู่ด้านล่าง ผล เป็นฝักแบน โคนฝักลีบ ส่วนปลายฝักจะใหญ่กว่า เมื่อแก่ฝักจะแตกอ้า ออกตามทางยาวจากส่วนปลาย

การขยายพันธุ์ของทองหลางป่า
การเพาะเมล็ด, การปักชำกิ่ง
ธาตุอาหารหลักที่ทองหลางป่าต้องการ
ประโยชน์ของทองหลางป่า

สรรพคุณทางยาของทองหลางป่า
ใบ บดทาแก้โรคบวมตามข้อ
คุณค่าทางโภชนาการของทองหลางป่า
การแปรรูปของทองหลางป่า
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11606&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com