แคทะเล
ชื่ออื่นๆ : แคทะเล (ตราด), แคน้ำ (ภาคกลาง)
ต้นกำเนิด : พบตามป่าน้ำกร่อยหลังป่าชายเลนบริเวณแม่นํ้า ลำคลอง และชายป่าพรุด้านใกล้ทะเล
ชื่อสามัญ : Mangrove trumpet tree
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dolichandrone spathacea (L.f.) K.Schum.
ชื่อวงศ์ : BIGNONIACEAE
ลักษณะของแคทะเล
ต้น ไม้ต้น สูง 10 ม. ทรงพุ่มทรงสูงหรือแผ่กว้างไม่เป็น ระเบียบ เปลือกสีเทา เรียบถึงแตกเป็นร่องตื้นๆ เปลือกชั้นในสีชมพู
ใบ ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ เรียงตรงข้ามกัน ก้านใบยาว 10-30 ซม.ใบย่อย 2-4 คู่ มีขนาดไม่เท่ากันใบรูปไข่รูปใบหอกแกม รูปไข่หรือรูปใบหอกถึงรูปขอบขนานแกมรูปไข่ กว้าง 2.5-7 ซม. ยาว 7-16 ซม. ปลายใบเรียวแหลมยาวคล้ายหาง ฐานใบเบี้ยว หรือแหลม ถึงกลมขอบใบเรียบ มีต่อมเรียงไปตามเส้นกลางใบทางด้านท้องใบ ก้านใบย่อยยาว 0.4-1 ซม.

ดอก สีขาว ออกแบบช่อกระจะ ช่อดอกสั้นออกตามปลายกิ่ง ยาว 3-5 ซม. แต่ละช่อมี 3-7 ดอก ก้านดอกย่อยยาว 1.5-3.3 ซม. บานครั้งละหนึ่งดอก มีกลิ่นหอม วงกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปแตร ยาว 12-17 ซม. ปากแตรยาวเป็น 5 แฉก แต่ละแฉกมีรอยยับย่น และหยักมนตามขอบ เกสรตัวผู้ 2 คู่ แต่ละคู่สั้นยาวไม่เท่ากัน ออกดอกเกือบตลอดทั้งปี แต่จะออกดอกมากเดือน เม.ย.-พ.ค.
ผล เรียว ยาว และบิดโค้ง กว้าง 2-3 ซม. ยาว 30-60 ซม. เมื่อแห้งแตกเป็น 2 ซีก ออกผลเดือน ก.ค.-ก.ย.

การขยายพันธุ์ของแคทะเล
ใช้เมล็ด/เพาะเมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่แคทะเลต้องการ
ประโยชน์ของแคทะเล
- ปลูกเป็นไม้ประดับ
- ดอก รับประทานเป็นผัก
- เนื้อไม้ ทำเครื่องเรือน และหีบใส่ของ
สรรพคุณทางยาของแคทะเล
- เมล็ดบด มีสรรพคุณระงับประสาท จิตผิดปกติ
- ใบ ใช้ประคบแผลไฟไหม้
- ราก รสหวานเย็น แก้ไข้ แก้เสมหะ โลหิต และลม
- เปลือก รสหวานเย็น แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ใบ รสเย็น รักษาแผล เป็นยาบ้วนปาก แก้ไข้ แก้คัน
- ดอก ออกรสหวานเย็น แก้ไข้
- เมล็ด รสหวานเย็น แก้ปวดประสาท

คุณค่าทางโภชนาการของแคทะเล
การแปรรูปของแคทะเล
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11578&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com
One Comment