ผักพ่อค้าตีเมีย
ชื่ออื่นๆ : ผักกับแก้ (ลำพูน) เฟินแผง, ผักเฟือยนก (ภาคกลาง)
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ :
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Selaginella argentea (Wall ex. Hook & Grew) Spring
ชื่อวงศ์ : Selaginellaceae
ลักษณะของผักพ่อค้าตีเมีย
ลักษณะเป็นพืชกึ่งล้มลุก ขนาดเล็ก ความสูงประมาณ 15-50 ซม. ลำต้นผอมบาง ลำต้นตั้งตรง มีเหง้าไหลทอดไปกับพื้น
ใบเป็นใบประกอบและมีใบประกอบย่อยขนาดเล็กจำนวนมาก มีสีเขียวอ่อน ปนกับเขียวเข้ม มันวาว ก้านใบมีขน
ต้นที่เจริญเติบโตเต็มที่จะมีความสวยงาม

สำหรับการตั้งชื่อผักชนิดนี้ว่า พ่อค้าตีเมีย อาศัยเรื่องเล่าจากชาวบ้านว่า พ่อค้าเดินทางไปขายสินค้า พอกลับมาถึงบ้านจึงทั้งเหนื่อยและหิว ด้วยความหิวจึงเรียกภรรยาให้ยกสำรับมาให้ ในสำรับมีแกงผักชนิดหนึ่ง พอพ่อค้าได้รับประทานแกงผักชนิดนี้เข้าไป ผักในแกงยังกรอบและไม่นุ่ม จึงด่าภรรยาว่าแกงผักไม่สุกแล้วเอามาให้รับประทาน และด้วยความโมโหจึงคว้าไม้ไล่ตีภรรยา ซึ่งความจริงแล้วผักชนิดนี้เมื่อนำไปปรุงอาหารจะมีลักษณะเฉพาะคือ มีความกรอบ ไม่เปื่อยยุ่ยเหมือนผักชนิดอื่น ด้วยสาเหตุนี้ผักชนิดนี้จึงได้ชื่อว่า ผักพ่อค้าตีเมีย ทำให้เป็นผักป่าที่มีชื่อแปลกกว่าผักชนิดอื่น
การขยายพันธุ์ของผักพ่อค้าตีเมีย
เป็นผักป่าชนิดหนึ่งที่สามารถเจริญเติบโตได้เองตามธรรมชาติ พบได้ในป่าเบญจพรรณที่มีลักษณะค่อนข้างเย็นและชุ่มชื้น ไม่ได้พบตามป่าทั่วไป สภาพพื้นที่ที่พบมักมีลักษณะเป็นดินทรายมีหินและกรวดซึ่งทำให้ยอดและลำต้นสามารถแทงโผล่มาได้ง่าย เจริญเติบโตได้ดีในฤดูฝนช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม ในพื้นที่ป่าหลายแห่งของจังหวัดลำพูนและแม่ฮ่องสอน
ธาตุอาหารหลักที่ผักพ่อค้าตีเมียต้องการ
ประโยชน์ของผักพ่อค้าตีเมีย
สามารถปลูกเป็นพืชประดับได้ ชาวบ้านนิยมนำไปแกงใส่เห็ดนางรมและปลาแห้ง หรือลวกกินกับน้ำพริก
สรรพคุณทางยาของผักพ่อค้าตีเมีย
คุณค่าทางโภชนาการของผักพ่อค้าตีเมีย
ผักพ่อค้าตีเมียมีคุณค่าอาหารเหมือนผักอื่นทั่วไป มีปริมาณเหล็ก โพแทสเซียม ฟอสฟอรัสและแคลเซียมค่อนข้างสูง มีวิตามินอี วิตามินบี และมีปริมาณแอนติออกซิเดนท์
การแปรรูปของผักพ่อค้าตีเมีย
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11564&SystemType=BEDO
ภาพประกอบ : www.pantip.com
One Comment