ระกำ หรือ ลูกกำ
ชื่ออื่นๆ : ระกำ, ลูกกำ (ใต้)
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : Rakam
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Salacca rumphii, S. edulis
ชื่อวงศ์ : PALMAE
ลักษณะของระกำ หรือ ลูกกำ
ระกำ เป็นพืชตระกูลปาล์ม ซึ่งมีต้นหรือเหง้าเตี้ย ยอดแตกเป็นกอ ใบมีลักษณะยาวเป็นทาง ยาวประมาณ 2-3 เมตร ลำต้นมีหนามแหลมยาวประมาณ 1 นิ้ว ออกผลเป็นทะลาย ทะลายหนึ่งมีตั้งแต่ 2-5 กระปุก เปลือกผลมีหนามแข็งเล็ก ๆ อุ้มไปทางท้ายผล ผลหนึ่ง ๆ มี 2-3 กลีบ เป็นส่วนมากเมื่อดิบมีรสฝาดและเปรี้ยว เมื่อสุกจะมีรสหวานอมเปรี้ยว เนื้ออ่อน บาง กลิ่นหอม ฉ่ำน้ำ
ระกำเป็นพืชที่สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี เจริญเติบโตและให้ผลผลิต ได้ทั่วไปในที่ดอนและชุ่มชื้น
ระกำเป็นพืชที่ชอบร่มเงาปกคลุม ดังนั้นชาวสวนจึงนิยม ปลูกพืชขนาดใหญ่อื่น ๆ ให้ร่มเงาแก่ระกำ ระกำจะให้ผลผลิตมากในช่วงเดือนพฤษภาคม – มิถุนายน
ระกำเป็นพืชขึ้นทั่วไป ในพื้นที่ป่าของจังหวัดตราด จันทบุรี และระยอง ต่อมาได้มีการนำระกำมาปลูกในสวน และปรับปรุงพันธุ์ให้เป็นพันธุ์ดีขึ้น โดยเฉพาะ จังหวัดตราด เกษตรกรนิยมปลูกระกำกันมาก

การขยายพันธุ์ของระกำ หรือ ลูกกำ
การเพาะเมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่ระกำ หรือ ลูกกำต้องการ
ประโยชน์ของระกำ หรือ ลูกกำ
- สามารถนำมาปรุงอาหาร เช่น ใช้ตำน้ำพริกกะปิ ใส่แกงส้ม และต้มส้ม (แทนมะขามเปียก) ทำให้มีรสอร่อย และหอมมาก ราคาของระกำต่อกิโลกรัม ขึ้นอยู่กับคุณภาพ ของระกำ ระกำที่มีรสหวานหอม มีเนื้อมาก
- เนื้อในของต้นอ่อนนุ่ม หยุ่นได้ ใช้ทำจุกขวด ใช้เป็นของเล่นเด็ก เนื่องจากลอยน้ำได้
- ใช้เป็นเครื่องประกอบดอกไม้เพลิง

สรรพคุณทางยาของระกำ หรือ ลูกกำ
- เนื้อผลประกอบด้วยน้ำตาล วิตามินซี และสารอาหารอื่นๆ ที่ให้พลังงาน และบำรุงร่างกาย
- ผลช่วยเป็นยาระบายทำให้ขับถ่ายง่ายขึ้น
- ผล ใช้กินเป็นยารักษาอาการไอ และขับเสมหะ
- แก่น จะมีรสขมหวาน ใช้เป็นยาขับเสมหะ รักษาเลือด รักษากำเดา และรักษาอาการ ไข้สำประชวร
- ช่วยขับเสมหะ ลดอาการเจ็บคอ และอาการไอ
- รสเปรี้ยวช่วยให้รู้สึกกระปรี้กระเปร่า ตาสว่าง
- เป็นแหล่งวิตามินซี ช่วยป้องกันเลือดออกตามไรฟัน
- น้ำมันเมล็ดระกำ ใช้ทากล้ามเนื้อช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อย
คุณค่าทางโภชนาการของระกำ หรือ ลูกกำ
ระกำมีน้ำตาลประมาณ 5.1 กรัม หรือ 1.3 ช้อนชา ต่อน้ำหนัก 100 กรัม หรือประมาณ 5 ผล
การแปรรูปของระกำ หรือ ลูกกำ
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11186&SystemType=BEDO
https://swis.acu.ac.th
https://www.flickr.com