โหระพา
ชื่ออื่นๆ : อิ่มคิมขาว, ฉาน (แม่ฮ่องสอน) นางพญาร้อยชู้, โหระพาไทย, โหระพาเทศ, ห่อกวยซวย
ต้นกำเนิด : เอเซียและแอฟริกา
ชื่อสามัญ : Sweet Basil
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ocimum basilicum Linn.
ชื่อวงศ์ : LABIATAE
ลักษณะของโหระพา
ต้น เป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปี สูง 0.3-0.9 เมตร ลำต้นกิ่งก้านเป็นเหลี่ยม สีม่วงหรือแดงเข้ม
ใบ เป็นใบเดี่ยวออกตรงข้าม รูปไข่หรือรูปรีกว้าง 3 – 4 เซนติเมตร ยาว 4 – 6 เซนติเมตร ปลายแหลม โคนมน ขอบจักเป็นฟันเลื่อยห่างๆ
ดอก ดอกสีขาวหรือชมพูอ่อน ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่งยาว 7 – 12 เซนติเมตร ใบประดับสีเขียวอมม่วงจะคงอยู่เมื่อเป็นผล กลีบดอกโคยเชื่อมกัน ปลายแยกเป็น 2 ส่วน มีเกสรตัวผู้ 4 อัน
ผล มีผลขนาดเล็ก ผลแห้ง มี 4 ผลย่อย เมล็ดเล็กเท่าเมล็ดงา สีน้ำตาลเข้ม
โหระพาเป็นพืชพื้นเมืองของอินเดีย แต่แพร่หลายทั้งในเอเชียและตะวันตก ทางตะวันตกนิยมบริโภคใบแห้ง น้ำสลัดใช้โหระพาเป็นส่วนผสมเป็นน้ำสลัดที่คู่กับอาหารอิตาเลียน ในอเมริกาก็นิยมบริโภค โดยโหระพามาจากอียิปต์ ฝรั่งเศส และแคลิฟอเนีย มีกลิ่นแตกต่างกันกับของไทย

การขยายพันธุ์ของโหระพา
ใช้กิ่ง/ลำต้น
การเตรียมดิน
ไถดินให้ลึก 30-40 ซม. ตากดิน 2 อาทิตย์ ย่อยดินให้ละเอียดใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก ให้มีอินทรียวัตถุสูง ดินร่วน มีความชื้นในดินสูง และแสงแดดปานกลาง การปลูกใช้ระยะปลูก ระยะระหว่างต้น 25 ซม. ระหว่างแถว 50 ซม. ให้น้ำสม่ำเสมอ
ใช้กิ่งปักชำในกระบะทราย หรือแกลบดำชื้นในที่ ประมาณ 1 สัปดาห์ ก็ย้ายปลูกได้ หรือเพาะด้วยเมล็ด อาจใช้วิธีหว่านเมล็ดให้ทั่วแปลง ใช้ฟางกลบ หรือปุ๋ยคอกที่ย่อยสลายดีแล้วโรยทับบางๆ รดน้ำตามทันทีด้วยบัวรดน้ำตาถี่ในกระบะเพาะชำ กล้าเจริญเติบโดสูงประมาณ 10-15 ซม. จึงย้ายปลูก
การเก็บเกี่ยว
ใช้มีดคมๆ ตัดกิ่งที่เจริญเติบโตเต็มที่ อายุเก็บเกี่ยว 50 วัน หลังหยอดเมล็ดสามารถเก็บเกี่ยวได้หลายครั้ง ผลผลิต 4-6 ตัน/
ธาตุอาหารหลักที่โหระพาต้องการ
–
ประโยชน์ของโหระพา
ใบสด มีน้ำมันหอมระเหย เช่น methyl chavicol และ linalool ฯลฯ ขับลมแก้ท้องอืดเฟ้อ ใช้เป็นอาหาร แต่งกลิ่นอาหาร แต่งกลิ่นสำอางบางชนิด เมล็ดเมื่อแช่น้ำจะพองเป็นเมือก เป็นยาระบาย เนื่องจากไปเพิ่มจำนวนกากอาหาร (bulk laxative)
ใช้เป็นยาได้หลายชนิด เช่น ปรุงร่วมกับน้ำนมราชสีห์ เพื่อกินเพิ่มน้ำนม ตำรวมกับแมงดาตัวผู้ใช้แก้พิษแมลงกัดต่อย

สรรพคุณทางยาของโหระพา
- ทั้งต้น ใช้แก้ไข้ แก้พิษฝี หลอดลมอักเสบ แก้พิษ ตานซาง แก้เด็กนอนสะดุ้งผวา
- ใบ คั้นน้ำแล้วต้มดื่มแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้ลมวิงเวียน ช่วยย่อยอาหาร ขับลมในลำไส้ ขับเสมหะ ตำพอกแก้โรคไขข้ออักเสบ แก้แผลอักเสบ
- ยอดอ่อน ใช้ตำปิดแผลงูกัด แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย
- เมล็ด ใช้แก้ไอ ขับพยาธิ ขับน้ำเหลืองเสีย พอกฝี แช่น้ำกิน เป็นยาระบาย
คุณค่าทางโภชนาการของโหระพา
คุณค่าอาหารโหระพา 100 กรัม ให้พลังงาน 44 กิโลแคลอรี ปะกอบด้วย
- โปรตีน 3.3 กรัม
- ไขมัน 1 กรัม
- คาร์โบไฮเดรต 5.4 กรัม
- แคลเซียม 165 มิลลิกรัม
- ฟอสฟอรัส 46 มิลลิกรัม
- เหล็ก 2.84 มิลลิกรัม
- วิตามินบี1 9.12 มิลลิกรัม
- วิตามินบี2 9.16 มิลลิกรัม
- ไนอะซิน 0.8 มิลลิกรัม
- วิตามินซี 22 มิลลิกรัม
- เบต้า-แคโรทีน 452.165 ไมโครกรัม
- เส้นใย 3.90 กรัม
การแปรรูปของโหระพา
นิยมรับประทานร่วมกับอาหารประเภทหลน ลาบ ยำ ส้มตำ ใส่ในแกงเขียวหวาน แกงเผ็ด ก๋วยเตี๋ยว ใบและยอดอ่อนใช้กินเป็นผักสด เป็นเครื่องแนมอาหารคาวหรืออาหารว่างได้เป็นอย่างดี

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11071&SystemType=BEDO
https ://th.wikipedia.org
https://www.flickr.com
หลายคน ชอบกินพร้อม ก๋วยเตี๋ยวน้ำตก