กล้วยไข่
ชื่ออื่นๆ : ไข่กำแพงเพชร
ต้นกำเนิด : เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ชื่อสามัญ : Pisang Mas
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Musa (AA group) “Kluai Khai”
ชื่อวงศ์ : Musaceae
ลักษณะของกล้วยไข่
กล้วยไข่เป็นผลไม้ที่นิยมผู้บริโภคกันทั่วไป เนื่องจากมีรสชาติดี ลักษณะการเรียงตัวของผลและสีผลสวยสะดุดตา ปัจจุบันส่งออกจำหน่ายต่างประเทศมากขึ้น ตลาดที่สำคัญคือ จีน และฮ่องกง
กล้วยไข่เป็นพืชที่สามารถปลูกได้แทบทุกภาคของประเทศ ในพื้นที่ปลูกที่มีการจัดการการผลิตเพื่อให้ได้ทั้งปริมาณ และผลผลิตตรงตามมาตรฐานคุณภาพ ตลาดต้องการ ปัญหาสำคัญที่มีผลต่อคุณภาพของผลผลิตคือ การปนเปื้อนของ สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาต่อสุขอนามัยของผู้บริโภค ตลอดจนการปนเปื้อนสู่สิ่งแวดล้อมในระยะยาว ดังนั้นกระบวนการผลิตจึงต้องมีการปฏิบัติอย่างถูกต้องและเหมาะสม
ต้น ลำต้นสูง 2. 5 – 3 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 16 – 20 เซนติเมตร กาบลำต้นด้านนอกสีเขียวปนเหลือง มีประสีน้ำตาลอ่อน ด้านในสีชมพูอมแดง
ใบ ก้านใบสีเขียวอมเหลือง มีร่องกว้าง โคนก้านมีครีบสีชมพู
ดอก ก้านช่อดอก มีขนอ่อน ปลีรูปไข่ ม้วนงอขึ้น ปลายแหลม ด้านนอกสีแดงอมม่วง ด้านในที่โคนกลีบสีซีด
ผล เครือหนึ่งมี 6 – 7 หวี หวีหนึ่งมีประมาณ 14 ผล ผลค่อนข้างเล็ก ก้านผลสั้น เปลือกผลบางเมื่อสุก มีสีเหลืองสดใส บางครั้งมีจุดดำเล็ก ๆ ประปราย เนื้อสีครีม อมส้ม รสหวาน ให้ผลผลิตในช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคม

การขยายพันธุ์ของกล้วยไข่
ใช้หัว/เหง้า/หน่อ
ธาตุอาหารหลักที่กล้วยไข่ต้องการ
ประโยชน์ของกล้วยไข่
มีประโยชน์สูง โดยมีวิตามินอี เบตาแคโรทีน และวิตามีนซี ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่เป็นสาเหตุของโรคมะเร็ง หรือทำให้เกิดการอักเสบ การทำลายเนื้อเยื่อ รวมทั้งโรคตาต้อกระจกได้

สรรพคุณทางยาของกล้วยไข่
- ยาง ช่วยในการสมานแผล ห้ามเลือด ให้รสฝาด
- ผลดิบ ใช้ชงน้ำร้อนหรือบดเป็นผงรับประทาน ช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหาร และท้องเสียเรื้อรัง ให้รสฝาด
- ผลสุก ช่วยบำรุงกำลัง เป็นยาระบาย และรักษาแผลในกระเพาะอาหาร ให้รสหวาน
- หัวปลี ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด แก้โรคกระเพาะอาหารและลำไส้ และโรคโลหิตจาง ให้รสฝาด
- ใบ ใช้ต้มอาบแก้ผดผื่นคัน หรือนำไปปิ้งไฟปิดทับบาดแผลไฟไหม้ ให้รสจืด
- ราก นำไปต้มดื่มแก้ไข้ ร้อนใน กระหายน้ำ ช่วยสมานภายใน แก้บิด ผื่นคัน ท้องเสีย ให้รสฝาดเย็น
- หยวก นำไปเผาไฟรับประทานช่วยในการขับถ่ายพยาธิ ให้รสฝาดเย็น
- เหง้า ช่วยรักษาแผลภายในบริเวณทวารหนัก หรือปรุงเป็นยาแก้ริดสีดวงทวารแบบมีเลือดออก ให้รสฝาดเย็น
คุณค่าทางโภชนาการของกล้วยไข่
กล้วยไข่ 1 ผล น้ำหนักประมาณ 40 กรัม ประกอบด้วย
- เบตาแคโรทีน 108 ไมโครกรัม
- วิตามินอี 0.19 มิลลิกรัม
- วิตามินซี 4 มิลลิกรัม
ให้พลังงาน 44 กิโลแคลอรี่ ในการกินนั้น แนะนำให้กินกล้วยไข่แทนข้าวได้ 2 ผล
การแปรรูปของกล้วยไข่
- ผลดิบ ใช้ทำกล้วยฉาบ ทำแป้งกล้วยสำหรับทำขนมไทย
- ผลห่ามทำกล้วยบวชชี กล้วยเชื่อม
- ผลสุกรับประทานเป็นผลไม้ รสหวาน กินกับกระยาสารท โดยเฉพาะเหมาะที่จะทำข้าวเม่าทอดมากที่สุด
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11044&SystemType=BEDO
www.th.wikipedia.org, www.pharmacy.mahidol.ac.th, www.arit.kpru.ac.th, www.flickr.com
3 Comments