สาละลังกา
ชื่ออื่นๆ : สาละลังกา (กรุงเทพฯ), ลูกปืนใหญ่ (ชลบุรี)
ต้นกำเนิด : อเมริกาเหนือและอเมริกาใต้
ชื่อสามัญ : Cannon Ball Tree
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Couroupita guianensis Aubl.
ชื่อวงศ์ : Lecythidaceae
ลักษณะของสาละลังกา
ต้น ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 15-25 เมตร ไม่ผลัดใบเปลือกต้นสีน้ำตาลหรือน้ำตาลแกมเทา แตกเป็นร่องและเป็นสะเก็ด เรือนยอดทรงกลมหรือรูปไข่ หนาทึบ เปลือกสีน้ำตาลแกมเทาแตกเป็นร่อง และสะเก็ด
ใบ ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ เป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง รูปขอบขนานถึงรูปใบหอกแกมรูปไข่ กว้าง 5-8 เซนติเมตร ยาว12-25 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบสอบหรือมน ขอบใบจักตื้น ใบหนา
ดอก สีชมพูอมเหลืองหรือแดง ด้านในสีม่วงอ่อนอมชมพู มีกลิ่นหอมมาก ออกดอกเป็นช่อแบบช่อกระจะขนาดใหญ่ตามลำต้น ช่อดอกยาว 30-150 เซนติเมตร ปลายช่อโน้มลง กลีบดอกหนา 4-6 กลีบ กลางดอกนูน สีขนสั้นสีเหลืองคล้ายแปรง เกสรเพศผู้เป็นเส้นยาว สีชมพูแกมเหลืองจำนวนมากทยอยบานจากโคนไปหาปลายช่อ นานเป็นเดือน ดอกบานเต็มที่กว้าง 5-10 เซนติเมตร ออกดอกช่วงเดือนพฤศจิกายน – พฤษภาคม
ผล ผลแห้ง ทรงกลมใหญ่ ขนาด 10-20 เซนติเมตร เปลือกเเข็ง สีน้ำตาลปนแดง ผลสุกมีกลิ่นเหม็น มีเมล็ดจำนวนมากรูปไข่


การขยายพันธุ์ของสาละลังกา
การเพาะเมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่สาละลังกาต้องการ
ปลูกเลี้ยงในดินร่วน แสงแดดจัด น้ำปานกลาง
ประโยชน์ของสาละลังกา
นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ
- เป็นต้นไม้ประจำ มหาวิทยาลัยชินวัตรและในอดีตเคยเป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (ในปัจจุบันได้เปลี่ยนเป็นต้นราชพฤกษ์แล้ว)
- เป็นต้นไม้ประจำ โรงเรียนสารวิทยา
- เป็นต้นไม้ประจำ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- เป็นต้นไม้ประจำ วิทยาลัยพยาบาลบรมมราชชนนี แพร่
สาละลังกาไม่ได้เกี่ยวข้องกับพุทธประวัติแต่อย่างใด เนื่องจากสาละลังกามีดอกและผลตลอดปี ออกเป็นงวงยาวตามลำต้นตั้งแต่โคนขึ้นไป ซึ่งผลของของสาละลังกามีเปลือกแข็งขนาดส้มโอย่อม ๆ ซึ่งไม่เหมาะแก่การนั่งพักหรือทำกิจได้ หากตกใส่ก็อาจทำให้บาดเจ็บได้


สรรพคุณทางยาของสาละลังกา
- ยาง ใช้เป็นยาสมานแผล ยาห้ามเลือด ใช้แก้โรคผิวหนัง ตุ่มพุพอง โรคซิฟิลิส โกโนเรีย วัณโรค โรคท้องร่วง บิด โรคหูอักเสบ
- ผล ใช้แก้โรคท้องเสีย ท้องร่วง เป็นต้น
คุณค่าทางโภชนาการของสาละลังกา
การแปรรูปของสาละลังกา
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.bedo.or.th
www.wattano.ac.th
www.th.wikipedia.org