ขานาง
ชื่ออื่นๆ : ขานาง (ภาคกลาง เชียงใหม่ จันทบุรี) ขางนาง, คะนาง (ภาคกลาง) ค่านางโคด (ระยอง) ช้างเผือกหลวง (เชียงใหม่) แซพลู้ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) ปะหง่าง (ราชบุรี) เปลือย (กาญจนบุรี) เปื๋อยคะนาง, เปื๋อยนาง (อุตรดิตถ์) เปื๋อยค่างไห้ (ลำปาง) ลิงง้อ (นครราชสีมา)
ต้นกำเนิด : พบทุกภาคในประเทศไทย
ชื่อสามัญ : Moulmein lancewood
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Homalium tomentosum (Vent.) Benth
ชื่อวงศ์ : FLACOURTIACEAE
ลักษณะของขานาง
ต้น เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีความสูง 15 – 30 เมตร เปลือกต้นสีขาวนวล เรือนยอดเป็นพุ่มทึบ เปลือย เปลือกต้นเรียบ บาง สีเทาแกมขาว กิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาลนุ่ม
ใบ เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับรูปไข่กลับถึงรูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับ โคนใบรูปลิ่มขอบใบหยักคล้ายฟันเลื่อย ปลายใบมนกลมหรือมีติ่งหนาม
ดอก ออกดอกเป็นช่อตามง่ามใบและปลายกิ่ง ดอกขนาดเล็ก สีเหลืองอ่อน ช่อสีเหลืองแกมเขียว ออกเป็นช่อยาวแบบ ช่อเชิงลด ห้อยลง กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นรูปกรวย มีขน กลีบเลี้ยงและกลีบดอกรูปขอบขนานแกมรูปแถบ มีขนยาว


การขยายพันธุ์ของขานาง
การเพาะเมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่ขานางต้องการ
ประโยชน์ของขานาง
- เนื้อไม้ใช้ทำคาน เกวียน เครื่องเรือน คราด และกระดาน
- ต้นไม้พระราชทานประจำจังหวัดกาญจนบุรี
(ในโอกาสที่รัฐบาลได้จัดงานรณรงค์ โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 ทรงครบรอบปีที่ 50 ในการครองราชสมบัติ ได้กราบบังคมทูล สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถเป็นองค์ประธาน และพระราชทานให้ผู้ว่าราชการจังหวัดนำไปปลูกเป็นสิริมงคลแก่จังหวัด )
สรรพคุณทางยาของขานาง
ลำต้น ต้มน้ำดื่ม แก้อัมพฤกษ์
คุณค่าทางโภชนาการของขานาง
การแปรรูปของขานาง
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10801&SystemType=BEDO
https:// ww2.kanchanaburi.go.th
https://www.flickr.com
2 Comments