กล้วยหอมจำปา
ชื่ออื่นๆ : กล้วยหอมจำปา, กล้วยป่าพัทลุง
ต้นกำเนิด : ภาคใต้ พบมากในจังหวัดสงขลา
ชื่อสามัญ : Banana
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Musa (AA Group)
ชื่อวงศ์ : MUSACEAE
ลักษณะของกล้วยหอมจำปา
ต้น ลำต้นเทียมสูงประมาณ 2.5 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางลำต้นเทียมน้อยกว่า 15 เซนติเมตร กาบลำต้นเทียมด้านนอกมีประดำมาก มีนวลปานกลาง ด้านในสีเขียวอมเหลือง
ใบ ก้านใบตั้ง มีร่องกว้างมีครีบสีชมพู เส้นกลางใบสีเขียว
ดอก หรือปลี ก้านช่อดอกมีขน ลักษณะของใบประดับรูปไข่ค่อนข้างยาว สีด้านบนสีแดงอมม่วง สีด้านล่างสีซีดปลายแดง ปลายใบประดับแหลมม้วนขึ้น การเรียงของใบประดับไม่ค่อยซ้อนกันนัก ดอกก้านสั้้น
ผล รูปร่างผลคล้ายกล้วยไข่ ปลายผลไม่มีจุก เปลือกบาง เมื่อสุกมีสีเหลืองจำปา เนื้อมีสีเหลือง รสหวาน มีเมล็ดบ้างไม่มากนัก เครือหนึ่งมี 7-10 หวี หวีหนึ่งมี 10-15 ผล ขนาดผลใกล้เคียงกับกล้วยหอมจันทน์ กว้างประมาณ 2 เซนติเมตร ยาว 8-10 เซนติเมตร


การขยายพันธุ์ของกล้วยหอมจำปา
การแยกหน่อ, การแยกเหง้า
การปลูก ขุดหลุมขนาด 30x30x30 เซนติเมตร วางหน่อลงปลูกกลางหลุม กลบดินโดยรอบให้แน่น หลังปลูก 1 เดือนให้ใส่ปุ๋ยสูตร 46-0-0 จากนั้นให้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 สลับกับปุ๋ยอินทรีย์ทุก 3 เดือน


ธาตุอาหารหลักที่กล้วยหอมจำปาต้องการ
ประโยชน์ของกล้วยหอมจำปา
ผลสุกรับประทานเป็นผลไม้
สรรพคุณทางยาของกล้วยหอมจำปา
สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ *สรรพคุณของกล้วย*
คุณค่าทางโภชนาการของกล้วยหอมจำปา
การแปรรูปของกล้วยหอมจำปา
สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับเรื่องกล้วย การปลูกกล้วย พันธุ์กล้วย เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : ชุมชนคนรักษ์พรรณไม้
2 Comments