กล้วยปิซังแอมเปียง
ชื่ออื่นๆ : กล้วยอัมเพียง, กล้วยปิซังแอมเปียง, หอมชวา
ต้นกำเนิด : ประเทศอินโดนีเซีย
ชื่อสามัญ :
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Musa (AA Group) ‘Pisang Ampiang’
ชื่อวงศ์ : MUSACEAE
ลักษณะของกล้วยปิซังแอมเปียง
ต้น มีความสูงปานกลางประมาณ 2.10 – 2.30 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางลำต้น ประมาณ 18 – 20 เซนติเมตร กาบลำต้นด้านนอกสีเขียวเจือน้ำตาลมีประสีน้ำตาลอ่อน กาบด้านในสีชมพูเจือเขียว หน่อเกิดชิดลำต้นแม่จำนวน 6-10 หน่อ
ใบ ยาวปานกลาง แผ่นใบกว้างสีเขียวสด ก้านใบสีเขียวอ่อน ร่องใบกว้างมีปีกสีแดง โคนก้านใบสีชมพู การเรียงตัวของก้านใบเกือบจะออกในแนวซ้าย-ขวา เหมือนรูปพัดกลายๆ (ใบช่วงบนและล่างเกือบจะอยู่ทับซ้อนกันมีเวียนเพียงเล็กน้อย)
ดอก หรือปลี รูปทรงกระบอกปลายแหลม กาบด้านนอกสีแดง กาบด้านในสีซีด เมื่อบานเปิดม้วนขึ้นเห็นผลกล้วยสีเขียวอ่อนลักษณะของเครือจะชี้ห่างจากลำต้นเกือบขนานกับพื้นดิน คล้ายกล้วยน้ำไท หลังติดหวีสุดท้ายแล้วจึงจะค่อยโน้มลงดินและปลีจะมีรูปร่างป้อมขึ้น
ผล ใน 1 เครือจะมี 4 – 7 หวี หวีละ 11 – 13 ผล ขนาดผลกว้าง 2.8-3.0 เซนติเมตร ยาว 15 – 16 เซนติเมตร มีเหลี่ยมเล็กน้อยผลค่อนข้างตรงปลายผลมีจุกไม่ชัดเจน ผลดิบสีเขียวอ่อน ผลแก่สีเขียวสด ผลสุกสีเหลืองจำปา เนื้อในสีส้มค่อนข้างกรอบ รสหวาน จัดกลิ่นหอม ไม่มีเมล็ด


การขยายพันธุ์ของกล้วยปิซังแอมเปียง
การแยกหน่อ, การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
การปลูก ขุดหลุมขนาด 30x30x30 เซนติเมตร วางหน่อลงปลูกกลางหลุม กลบดินโดยรอบให้แน่น หลังปลูก 1 เดือนให้ใส่ปุ๋ยสูตร 46-0-0 จากนั้นให้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 สลับกับปุ๋ยอินทรีย์ทุก 3 เดือน
ตั้งแต่ปลูกด้วยหน่อถึงออกปลีประมาณ 10 เดือน และอายุตั้งแต่ออกปลีถึงผลสุกประมาณ 98 วัน
ธาตุอาหารหลักที่กล้วยปิซังแอมเปียงต้องการ
ประโยชน์ของกล้วยปิซังแอมเปียง
- ผลรับประทานผลสุก รสชาติคล้ายกล้วยไข่แต่เนื้อแน่นกว่า
สรรพคุณทางยาของกล้วยปิซังแอมเปียง
สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ *สรรพคุณของกล้วย*
คุณค่าทางโภชนาการของกล้วยปิซังแอมเปียง
การแปรรูปของกล้วยปิซังแอมเปียง
สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับเรื่องกล้วย การปลูกกล้วย พันธุ์กล้วย เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.acc.kpru.ac.th
ภาพประกอบ : www.qsbg.org, www.kaidee.com
One Comment