กล้วยแส้ม้า
ชื่ออื่นๆ : กล้วยแส้ม้า
ต้นกำเนิด : ทางภาคใต้ พบมากในจังหวัดสงขลา
ชื่อสามัญ : Kluai Sae Ma
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Musa (AA) ‘Sae Ma’
ชื่อวงศ์ : MUSACEAE
ลักษณะของกล้วยแส้ม้า
ต้น ลำต้นเทียมสูงประมาณ 2.5-3.5 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางลำต้นเทียมมากกว่า 15 เซนติเมตร กาบลำต้นเทียมด้านนอกสีเขียว มีประดำปานกลาง มีไข กาบลำต้นด้านในสีเขียวอ่อน
ใบ ก้านใบมีร่องมีครีบสีแดง เส้นกลางใบสีเขียวนวล

ดอก หรือปลี เครือออกทางด้านข้างขนานกับพื้นดิน แล้วห้อยลง ก้านดอกมีขน ใบประดับรูปไข่ค่อนข้างป้อม ปลายมน กาบปลีและดอกกระเทยไม่หลุด ช่วงของดอกกระเทยยาวมาก ด้านบนสีม่วง มีนวล ด้านล่างสีแดง ใบประดับไม่หลุด

ผล เครือหนึ่งมีประมาณ 8 หวีขึ้นไป หวีหนึ่งมี 15-20 ผล ผลยาวเรียว ปลายงอนเล็กน้อย ที่ปลายมีจุกยาวใหญ่ ผลคล้ายกับกล้วยนิ้วจระเข้ แต่ยาวกว่า ผลสุกมีสีเหลือง เนื้อสีเหลืองอ่อน มีรสชาติหวาน ไม่มีเมล็ด

การขยายพันธุ์ของกล้วยแส้ม้า
การแยกหน่อ, การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
การปลูก ขุดหลุมขนาด 30x30x30 เซนติเมตร วางหน่อลงปลูกกลางหลุม กลบดินโดยรอบให้แน่น หลังปลูก 1 เดือนให้ใส่ปุ๋ยสูตร 46-0-0 จากนั้นให้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 สลับกับปุ๋ยอินทรีย์ทุก 3 เดือน
ธาตุอาหารหลักที่กล้วยแส้ม้าต้องการ
ประโยชน์ของกล้วยแส้ม้า
- ผลสุกรับประทานเป็นผลไม้ หรือรับประทานร่วมกับของหวานอย่างอื่นเช่นไอศกรีม
สรรพคุณทางยาของกล้วยแส้ม้า
สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ *สรรพคุณของกล้วย*
คุณค่าทางโภชนาการของกล้วยแส้ม้า
การแปรรูปของกล้วยแส้ม้า
สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับเรื่องกล้วย การปลูกกล้วย พันธุ์กล้วย เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : รวบรวมสายพันธุ์กล้วย