กล้วยพระราม
ชื่ออื่นๆ : กล้วยพระราม, กล้วยแคระ, กล้วยหอมแคระต้นเตี้ย
ต้นกำเนิด : อเมริกากลาง
ชื่อสามัญ : Kluai Pra Ram
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Musa acuminata ‘Kluai Pra Ram’
ชื่อวงศ์ : MUSACEAE
ลักษณะของกล้วยพระราม
ต้น ลำต้นเทียมสูงน้อยกว่า 1 เมตร ต้นเตี้ยกว่ากล้วยมาฮอย เส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 15 เซนติเมตร กาบลำต้นด้านนอกสีมีสีเขียว มีปื้นดำปานกลาง ด้านในสีเขียวอ่อน
ใบ ก้านใบสีเขียวอ่อน ก้านใบเปิด มีร่องค่อนข้างกว้างและมีครีบ ขอบครีบสีชมพูอมแดง เส้นกลางใบสีเขียวอ่อน
ดอก หรือปลี หรือดอก ก้านช่อดอกมีขน ใบประดับรูปไข่ค่อนข้างป้อม ปลายแหลม ใบประดับไม่หลุด ด้านบนของใบประดับสีแดงอมม่วง ด้านล่างสีแดงซีด
ผล เครือหนึ่งมีประมาณ 9 หวี หวีหนึ่งมี 16-20 ผล หวีค่อนข้างแน่นรูปร่างผลใกล้เคียงกับกล้วยหอมทอง แต่สั้นกว่า ปลายผลทู่ไม่มีจุก เปลือกหนากว่ากล้วยหอมทอง เมื่อสุกเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอมเขียว เนื้อสีขาว กลิ่นหอมฉุนค่อนข้างแรง รสหวาน เนื้อเละ ไม่มีเมล็ด ต้องบ่มที่ความเย็นจะทำให้คุณภาพของผลดีมาก


การขยายพันธุ์ของกล้วยพระราม
การแยกหน่อ, การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
การปลูก ขุดหลุมขนาด 30x30x30 เซนติเมตร วางหน่อลงปลูกกลางหลุม กลบดินโดยรอบให้แน่น หลังปลูก 1 เดือนให้ใส่ปุ๋ยสูตร 46-0-0 จากนั้นให้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 สลับกับปุ๋ยอินทรีย์ทุก 3 เดือน
พบที่ดอยตุง จังหวัดเชียงราย
ธาตุอาหารหลักที่กล้วยพระรามต้องการ
ประโยชน์ของกล้วยพระราม
- รับประทานผล
- ปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไป
- นิยมปลูกในกระถาง
สรรพคุณทางยาของกล้วยพระราม
สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ *สรรพคุณของกล้วย*
คุณค่าทางโภชนาการของพระราม
การแปรรูปของกล้วยพระราม
สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับเรื่องกล้วย การปลูกกล้วย พันธุ์กล้วย เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : รวบรวมสายพันธุ์กล้วย
One Comment