กล้วยบัวแดง
ชื่ออื่นๆ : กล้วยบัว, กล้วยดอกบัว, กล้วยแวก, กล้วยแค่, กล้วยบัวแดงกำมะหยี่
ต้นกำเนิด : พบบริเวณพื้นที่ไหล่เขาที่มีดินชุ่มชื้น จังหวัดกำแพงเพชร
ชื่อสามัญ : Kluai Bua Daeng
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Musa rubra Wall
ชื่อวงศ์ : MUSACEAE สกุล Musa (section: Rhodochlamys)
ลักษณะของกล้วยบัวแดง
ต้น ลำต้นเทียมมีความสูงประมาณ 2 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางน้อยกว่า 15 เซนติเมตร การแตกหน่อถี่ สีของกาบลำต้นเทียมสีเขียว มีประดำปานกลาง มีไขบนลำต้นเล็กน้อย บริเวณโคนต้นและกาบด้านในไม่มีสีชมพู
ใบ ขอบก้านใบตั้งขึ้นมีสีชมพูเส้นกลางใบมีสีชมพู บริเวณโคนก้านใบมีปีก ขอบก้านใบตั้งขึ้น

ดอก หรือปลี ก้านช่อดอกเรียบเป็นมันไม่มีขน ช่อดอกหรือปลีชี้ตั้งขึ้น ใบประดับรูปไข่ค่อนข้างยาว มีปลายแหลม ใบประดับด้านนอกสีแดงม้วนเล็กน้อย ด้านในสีแดง ดอกย่อยกลีบรวมสีส้มเข้ม ตรงกลางกลีบนูนเป็นสันสีม่วง กลีบรวมเดี่ยวบาง มีรอยหยักบริเวณปลายกลีบชัดเจน
ผล ผลขนาดเล็ก สีเขียวอมแดง ก้านช่อดอกสีแดง ผลขนาดเฉลี่ยกว้างประมาณ 1.7 เซนติเมตร ยาวประมาณ 5 เซนติเมตร จำนวนผล 3-4 ผลต่อหวี และผลมี 5 หวีต่อเครือ

การขยายพันธุ์ของกล้วยบัวแดง
การแยกหน่อ
การปลูก ขุดหลุมขนาด 30x30x30 เซนติเมตร วางหน่อลงปลูกกลางหลุม กลบดินโดยรอบให้แน่น หลังปลูก 1 เดือนให้ใส่ปุ๋ยสูตร 46-0-0 จากนั้นให้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 สลับกับปุ๋ยอินทรีย์ทุก 3 เดือน
ธาตุอาหารหลักที่กล้วยบัวแดงต้องการ
ประโยชน์ของกล้วยบัวแดง
- ใช้จัดสวน
- ดอกใช้ประดับ
- ปลูกเป็นไม้ประดับ
สรรพคุณทางยาของกล้วยบัวแดง
สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ *สรรพคุณของกล้วย*
คุณค่าทางโภชนาการของกล้วยบัวแดง
การแปรรูปของกล้วยบัวแดง
สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับเรื่องกล้วย การปลูกกล้วย พันธุ์กล้วย เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : รวบรวมสายพันธุ์กล้วย
ภาพประกอบ : www.flickr.com