กล้วยกรัน
ชื่ออื่นๆ : กล้วยกรัน
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : Kluai Kran
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Musa (AA) ‘Kran’
ชื่อวงศ์ : MUSACEAE
ลักษณะของกล้วยกรัน
ต้น เป็นกล้วยที่มีลำต้นสูงประมาณ 2.25 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางลำต้น 15-18 เซนติเมตร กาบลำต้นด้านนอกสีแดงสดเจือเขียว กาบด้านในสีชมพูเจือแดงให้หน่อยมากกว่า 5 หน่อ คล้ายหน่อกล้วยหอมทอง หน่องมีสีแดงเข้ม
ใบ ทางใบยาวประมาณ 2 เมตร กว้าง 57 เซนติเมตร สีเขียวแก่ ร่องใบห่าง
ดอก หรือปลี ชี้ลงดิน รูปทรงกระบอกปลายแหลม กาบด้านนอกสีแดงเจือเขียว กาบปลีด้านในสีแดงซีด เมื่อบานเปิดม้วนขึ้นเห็นลูกกล้วยสีเขียวอ่อน เมื่อติดผลหวีสุดท้ายจะมีดอกสมบูรณ์เพศติดต่อลงมาอีกระยะหนึ่ง
ผล ผลคล้ายงาช้าง ใน 1 เครือมีจำนวน 5 หวี หวีละ 14-15 ผล ขนาดผลกว้าง 3 เซนติเมตร ยาว 11 เซนติเมตร ผลดิบสีเขียวแก่ มีกระสีน้ำตาลกระจาย ผลแก่ เปลือกสีเหลืองเข้ม ปลายผลมีจุกชัดเจน เนื้อในสีขาวครีม เนื้อร่วน กลิ่นหอมเฉพาะตัว

การขยายพันธุ์ของกล้วยกรัน
การแยกหน่อ
อายุตั้งแต่ปลูกด้วยหน่อถึงออกเครือ 8 เดือน และอายุตั้งแต่ออกเครือถึงผลสุก 85 วัน
ธาตุอาหารหลักที่กล้วยกรันต้องการ
ประโยชน์ของกล้วยกรัน
รับประทานผลสด เปลือกบาง รสหวาน มัน คล้ายไข่ต้ม
สรรพคุณทางยาของกล้วยกรัน
สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ *สรรพคุณของกล้วย*
คุณค่าทางโภชนาการของกล้วยกรัน
การแปรรูปของกล้วยกรัน
สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับเรื่องกล้วย การปลูกกล้วย พันธุ์กล้วย เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.rpplant.royalparkrajapruek.org, www.scitech.kpru.ac.th
ภาพประกอบ : ร้านนานาพันธุ์กล้วย