กล้วยเสี้ยนเจียนเจียว
ชื่ออื่นๆ : กล้วยเสี้ยนเจียนเจียว
ต้นกำเนิด : เอเซีย
ชื่อสามัญ : Kluai Sain Jain Chiao
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Musa (AAA) ‘Sain Jain Chiao’
ชื่อวงศ์ : MUSACEAE
ลักษณะของกล้วยเสี้ยนเจียนเจียว
ต้น ลำต้นสูง 2.5 – 3.5 ม.เส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า 20 ซม. กาบลำต้นด้านนอกมีประดำ ด้านในสีเขียวอ่อนและมีเส้นลายสีชมพู
ใบ ก้านใบมีร่องค่อนข้างกว้าง และ มีปีก เส้นกลางใบสีเขียวก้านเครือมีขน
ดอก หรือปลี ปลีรูปทรงกระโปก ค่อนข้างยาวมน ขนตรงโคน ปลายแหลม ด้านบนสีแดงอมม่วง มีไข ด้านในสีแดงซีด
ผล ติดผลเป็นเครือ เครือหนึ่งมี 4 – 6 หวี หวีหนึ่งมี 12 – 16 ผล กว้าง 3 – 4 ซม. ยาว 21 – 25 ซม. ปลายผลมีจุกเห็นชัดเปลือกบาง เมื่อสุกเปลี่ยนเป็นสีเหลืองทอง แต่ที่ปลายจุกจะมีสีเขียว แล้วเปลี่ยนสีภายหลัง เนื้อสีเหลืองเข้ม กลิ่นหอม รสหวาน

การขยายพันธุ์ของกล้วยเสี้ยนเจียนเจียว
การแยกหน่อ
ธาตุอาหารหลักที่กล้วยเสี้ยนเจียนเจียวต้องการ
ประโยชน์ของกล้วยเสี้ยนเจียนเจียว
- ผลรับประทาน
สรรพคุณทางยาของกล้วยเสี้ยนเจียนเจียว
ส่วนที่ใช้เป็นยา : ผล ราก ยางกล้วยจากใบ เปลือกกล้วย
- ผล ขับปัสสาวะ
- ยางกล้วยจากใบ ใช้ห้ามเลือด
- ผลดิบ ช่วยแก้โรคท้องเสีย สมานแผลในกระเพาะอาหาร
- ผลสุก ใช้เป็นอาหาร กระตุ้นให้ร่างกายรู้สึกผ่อนคลาย อารมณ์สดใสและมีความสุข เป็นยาระบายสำหรับผู้ที่มีอุจจาระแข็ง ช่วยทุเลาอาการปวดท้อง ก่อนหรือขณะมีประจำเดือนได้ สามารถกระตุ้นความตื่นตัวให้กับสมองได้ หรือแม้กระทั่งช่วยทุเลาจากอาการเมาค้างเนื่องจากการดื่มสุรา ของมึนเมา
- ราก ใช้ต้มน้ำแล้วดื่มเพื่อบรรเทาอาการปวดฟัน
คุณค่าทางโภชนาการของกล้วยเสี้ยนเจียนเจียว
การแปรรูปของกล้วยเสี้ยนเจียนเจียว
สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับเรื่องกล้วย การปลูกกล้วย พันธุ์กล้วย เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.rpplant.royalparkrajapruek.org