กูดใบบัว
ชื่ออื่นๆ : กูดใบบอน, กูดใบบัว, ใบหัวใจ, ปักเป้า, ลิ้นวัว (ทั่วไป) กูดลูกศร (ชลบุรี)
ต้นกำเนิด : พบขึ้นในที่ร่มรำไร ตามซอกหินหรือตามพื้นดินที่ค่อนข้างชื้น
ชื่อสามัญ :
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Parahemionitis cordata (Roxb. ex Hook. & Grev.) Fraser-Jenk.
ชื่อวงศ์ : Pteridaceae
ลักษณะของกูดใบบัว
ต้น พืชจำพวกเฟิร์นดิน หรือเฟิร์นเกาะหิน ลำต้นเป็นเหง้าสั้นกึ่งตั้งตรง ปกคลุมด้วยเกล็ด
เกล็ด รูปแถบ ยาว 2-3 มิลลิเมตร ขอบเรียบ สีน้ำตาล
ใบ ใบเดี่ยว แบ่งเป็น 2 แบบ ใบไม่สร้างสปอร์ รูปไข่หรือรูปขอบขนาน กว้างประมาณ 4 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 7 มิลลิเมตร ปลายกลมมน โคนรูปหัวใจ ขอบเรียบ แผ่นใบสีเขียว ด้านใต้ใบมีเกล็ดและขน แผ่นใบค่อนข้างบางคล้ายแผ่นกระดาษ เส้นกลางใบนูนขึ้นเห็นเด่นชัด ใต้ใบเส้นใบย่อยเป็นช่องร่างแหเห็นไม่ชัดเจน ก้านสีน้ำตาลอมแดงถึงเกือบดำ ยาวประมาณ 8 เซนติเมตร ด้านบนเป็นร่อง มีเกล็ดและขนปกคลุมทั่วไป ใบสร้างสปอร์ รูปใบหอก กว้างประมาณ 3 เซนติเมตร ยาวประมาณ 5 เซนติเมตร ปลายค่อนข้างแหลม โคนหยักลึกรูปหัวใจ เกิดเป็นพูรูปสามเหลี่ยม ปลายค่อนข้างแหลม ขอบเรียบ เนื้อใบบางกว่าใบไม่สร้างสปอร์ ก้านใบยาวประมาณ 20 เซนติเมตร


การขยายพันธุ์ของกูดใบบัว
เพาะสปอร์
ธาตุอาหารหลักที่กูดใบบัวต้องการ
ประโยชน์ของกูดใบบัว
ปลูกเป็นไม้ประดับ ไม้กระถาง
สรรพคุณทางยาของกูดใบบัว
คุณค่าทางโภชนาการของกูดใบบัว
การแปรรูปของกูดใบบัว
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10495&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com