ใบ้สามสี
ชื่ออื่นๆ : โพธิ์เงินลาย, สามสี, อ้ายใบ้สามสี (กทม.)
ต้นกำเนิด : มาเลเซีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อินเดีย
ชื่อสามัญ : Spotted Evergreen, Chinese Evergreen, Malaysian Evergreen
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Aglaonema costatum N.E.Br.
ชื่อพ้อง : Aglaonema costatum f. costatum, Aglaonema costatum var. foxii Engl.
ชื่อวงศ์ : ARACEAE
ลักษณะของใบ้สามสี
ลำต้น ไม้พุ่มขนาดย่อม ลำต้นกลมเป็นข้อและมีสีเขียวสด โคนใบแผ่หุ้มรอบต้น ลำต้นทอดเลื้อยตามผิวดิน ต้นสูง 0.3-0.4 ม.
ใบ ใบเดี่ยวออกเรียงเวียนสลับ ใบ ยาว 20 ซม. รูปไข่หรือรูปไข่แกมขอบขนาน โคนใบมน ปลายใบเรียวแหลม ขอบใบเรียบ เส้นกลางใบสีขาว มีจุดสีขาวกระจายจากเส้นกลางใบ

ดอก ดอกออกเป็นช่อเชิงลดตามซอกใบ ใกล้ปลายยอดหรือปลายยอด ช่อดอกรูปทรงกรกะบอก มีกาบหุ้มช่อดอก รูปรี สีเขียวแล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ดอกย่อยสีเหลืองอ่อนหรือสีขาวนวล ไม่มีกลีบดอก ดอกแยกเพศอยู่ช่อเดียวกัน ดอกเพศผู้อยู่บริเวณปลายช่อ ส่วนดอกเพศเมียอยู่บริเวณโคนช่อดอก
ผล รูปรีหรือกลม ผิวเรียบ ผลมีเนื้อ ผลสุกสีแดง

การขยายพันธุ์ของใบ้สามสี
- การเพาะเมล็ด
- ปักชำยอด การตอนยอด มักใช้กับลำต้นที่มีขนาดใหญ่
- การชำข้อและต้น ตัดส่วนของข้อลำต้นเป็นท่อนๆ นำไปปักชำในขี้เถ้าแกลบ
- แยกหน่อแยกหน่อที่มีใบ 2-3 ใบ และโคนหน่อต้องมีราก
ธาตุอาหารหลักที่ใบ้สามสีต้องการ
ดินที่มีการระบายน้ำดี ดินที่อุดมสมบูรณ์
ประโยชน์ของใบ้สามสี
- ปลูกประดับสถานที่
- ปลูกเป็นไม้กระถาง
สรรพคุณของใบ้สามสี
คุณค่าทางโภชนาการของใบ้สามสี
การแปรรูปใบ้สามสี
สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับการเกษตร เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.rpplant.royalparkrajapruek.org, www.flickr.com