ประดู่ลาย
ชื่ออื่นๆ : ประดู่แขก (ลำปาง) ดู่แขก, ประดู่อินเดีย
ต้นกำเนิด : ประเทศอินเดียและประเทศแถบหิมาลัย
ชื่อสามัญ : South Indian Redwood, Sissoo
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dalbergia sissoo Roxb.
ชื่อวงศ์ : FABACEAE
ลักษณะของประดู่ลาย
ต้น ไม้ต้นขนาดใหญ่ ผลัดใบ สูงราว 10-25 เมตร ลำต้นเปลาตรง เปลือกสีเทา แก่นสีน้ำตาล และมีริ้วสีดำแซม เรือนยอดเป็นพุ่มใหญ่โปร่ง

ใบ ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ มีใบย่อย 3-5 ใบ ใบย่อยรูปมน-ป้อม หรือมนแกมรูปไข่ ปลายใบแหลม ใบอ่อนมีขนนุ่ม แต่พอแก่ขนจะหลุดร่วงไป

ดอก ดอกสีเหลืองอ่อนๆ ปนขาว ออกรวมกันเป็นช่อสั้นๆ ตามง่ามใบตามกิ่ง เมื่อออกดอกใบจะร่วงหมด เกสรผู้มี 9 อัน รังไข่รูปยาวรีๆ และจะยาวกว่าหลอดท่อรังไข่

ผล ฝักรูปบรรทัดแคบๆ ปลายฝักแหลม แต่ละฝักมีเมล็ด 1-3 เมล็ด

การขยายพันธุ์ของประดู่ลาย
การเพาะเมล็ด
ขึ้นตามป่ารกร้างทั่วไป
ธาตุอาหารหลักที่ประดู่ลายต้องการ
ประโยชน์ของประดู่ลาย
- ปลูกเป็นไม้ให้ร่มเงา ไม้ริมทาง
สรรพคุณทางยาของประดู่ลาย
- เปลือกและเนื้อไม้ มีรสขม รสร้อนฉุน รับประทานเป็นยากระตุ้นกำหนัด ถ้าเป็นหญิงตั้งครรภ์กินจะทำให้แท้ง เป็นยาขับเสมหะ ลดไข้
- ใบ ใช้รักษาโรคหนองใน
คุณค่าทางโภชนาการของประดู่ลาย
การแปรรูปของต้นประดู่ลาย
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9509&SystemType=BEDO
www.forest.go.th, www.flickr.com
เรียบเรียงข้อมูลโดย : เกษตรตำบล.คอม
ปลูกเป็นไม้ประดับให้ร่มเงา
เปลือกและเนื้อไม้รับประทานเป็นยากระตุ้นกำหนัด