ศรีตรัง
ชื่ออื่นๆ : แคฝอย, ศรีตรัง
ต้นกำเนิด : อเมริกาใต้
ชื่อสามัญ : Jacaranda
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Jacaranda filicifolia (Anderson) D. Don.
ชื่อวงศ์ : BIGNONIACEAE
ลักษณะของศรีตรัง
ต้น เป็นต้นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ลำต้นเปลา ตรง โปร่ง เปลือกสีน้ำตาลซีดๆ
ใบ ใบมนเป็นรูปรี ปลายใบแหลม ยาวประมาณ 7 เซนติเมตรใบรวมแบบ 2 ชั้น กลุ่มใบจับกันเป็นแผงเหมือนกับใบเฟิร์น ใบย่อยออกตามก้านใบเป็นคู่ขนาน
ดอก ดอกสีม่วงอ่อน มีกลิ่นหอมอ่อน ออกเป็นช่อแบบกระจุกแยกแขนงตามกิ่งและซอกใบ ใกล้ปลายกิ่ง ช่อดอกยาว 5 – 9 เซนติเมตร กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดสีม่วงเข้มปลายแยก 5 แฉก ดอกบานเต็มที่กว้าง 1.5 – 2.5 เซนติเมตร เกสรดอกมีสีเหลืองอมสีส้ม
ผล ผลเดี่ยวเมื่อแก่แล้วแตกออกเป็น 2 ซีก เป็นฝักแบนกว้าง 1-1.5 เซนติเมตร ยาว 2 – 2.5 เซนติเมตร เมล็ดมีปีก จะออกดอกประมาณเดือนมกราคม – มีนาคม


การขยายพันธุ์ของศรีตรัง
ใช้เมล็ด/เพาะเมล็ด
ปลูกได้ดีในดินทุกชนิด ต้นมีอายุ 4 – 6 ปี จึงจะออกดอก
ธาตุอาหารหลักที่ศรีตรังต้องการ
ชอบอากาศเย็นและชุ่มชื้น ถ้าปลูกในที่แห้งจะผลัดใบ ปลูกในกรุงเทพฯ เจริญเติบโตช้ามาก
ประโยชน์ของศรีตรัง
- ปลูกเป็นไม้ประดับและปลูกให้ร่มเงา ปลูกประดับสวนกลางแจ้ง
- ต้นไม้ประจำจังหวัดตรัง ที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถได้พระราชทานให้กับผู้ว่าราชการจังหวัดของแต่ละจังหวัด เพื่อให้นำไปปลูกเป็นสิริมงคลแก่จังหวัดและเพื่อเป็นการรณรงค์ให้ประชาชนปลูกต้นไม้ใน “โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ” เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 ทรงครบรอบปีที่ 50 ในการครองราชสมบัติ ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2537
สรรพคุณทางยาของศรีตรัง
–
คุณค่าทางโภชนาการของศรีตรัง
การแปรรูปของศรีตรัง
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10336&SystemType=BEDO
www.flickr.com
One Comment