พญามะขามป้อม
ชื่ออื่นๆ : พญาไม้ (จันทบุรี, ตราด) มะขามป้อมดง, มะขามป้อมแดง (นครราชสีมา) สะรุล (ตราด) สาสน (นครราชสีมา) หมากหิ้ง (เลย)
ต้นกำเนิด : ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ต่างประเทศพบที่ลาว เวียตนาม จีน (เกาะไหหลำ) ขึ้นในป่าดิบ ที่ระดับความสูง 800-1,800 เมตร
ชื่อสามัญ : Java Podocarpus, Malayan yellowwood
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dacrycarpus imbricatus (Blume) de Laub.
ชื่อวงศ์ : PODOCARPACEAE
ลักษณะของพญามะขามป้อม
ต้น พญามะขามป้อม เป็นไม้ต้น สูงได้ถึง 40 ม. ลำต้นเปลาตรง เปลือกบางเป็นมัน สีน้ำตาลอมแดง เรือนยอดเป็นพุ่มทึบ แยกเพศต่างต้น
ใบ ใบรูปแถบ ใบบนกิ่งเรียงห่าง ใบช่วงปลายกิ่งเรียงในระนาบเดียว ใบบนก้านช่อรูปเข็ม เรียงไม่แนบติดกับก้าน โคนเพศผู้ออกตามซอกใบ กาบคล้ายเกล็ด (microsporophylls) เรียงซ้อนกัน โคนเพศเมียออกเดี่ยว ๆ ที่ปลายกิ่ง มีกาบประดับ อวบน้ำรองรับ
เมล็ด เมล็ดเปลือย ยาว 3-4 มม. เมล็ดรูปรี เยื่อหุ้มสุกสีแดง

การขยายพันธุ์ของพญามะขามป้อม
พญามะขามป้อม พบได้ในสภาพป่าบนภูเขาสูง ในภาคตะวันออก ปัจจุบันมีการนำมาปลูกในท้องที่เพื่อเป็นการอนุรักษ์ และขยายพันธุ์ ที่สวนพฤกษศาสตร์ระยอง
ธาตุอาหารหลักที่พญามะขามป้อมต้องการ
ประโยชน์ของพญามะขามป้อม
พืชหายากระดับโลก ยังไม่มีข้อมูลในการศึกษาถึงการนำไปใช้ประโยชน์ แต่ปัจจุบันมีกระแสความสนใจ นำมาปลูกประดับตามบ้านเรือนเฉพาะคนมีฐานะ เนื่องจากเป็นไม้หายากใกล้สูญพันธุ์

สรรพคุณทางยาของพญามะขามป้อม
–
คุณค่าทางโภชนาการของพญามะขามป้อม
การแปรรูปของพญามะขามป้อม
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10217&SystemType=BEDO
www.flickr.com