ต้นยายถีบหลาน
ชื่ออื่นๆ : ยายจูงหลาน (ชุมพร) ยมหิน (สุราษฎร์ธานี) ยายถีบหลาน (ตรัง).
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ :
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Phyllanthus oxyphyllus Miq.
ชื่อวงศ์ : EUPHORBIACEAE
ลักษณะของต้นยายถีบหลาน
ไม้พุ่มขนาดเล็ก สูง 1-3 ม. กิ่งเป็นเหลี่ยมคมสี่เหลี่ยม ยาวเรียวและตั้งตรง ใบเดี่ยว เรียงสลับกัน รูปขอบขนาน หรือ รูปไข่แกมขอบขนาน กว้าง 1-2 ซม. ยาว 3-7 ซม. ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ โคนใบแหลม กลม หรือ เว้าเล็กน้อย มีเส้นใบเล็กเหมือนเส้นด้าย 5-9 คู่ เนื้อใบบาง ก้านใบสั้นมากประมาณ 1-2 มม. หูใบมีขนาดเล็กมาก ติดที่โคนก้านใบ ดอกออกเป็นช่อเล็ก ๆ ตามง่ามใบ และมักจะอยู่ด้านใต้ใบ ดอกเพศผู้ และดอกเพศเมียอยู่บนต้นเดียวกัน.ดอกเพศผู้ กลีบรองกลีบดอกมี 3 กลีบ รูปขอบขนานกว้าง ไม่มีกลีบดอก เกสรผู้มี 3 อัน เชื่อมติดกันเล็กน้อย ฐานดอกมีต่อมเล็กๆ. ดอกเพศเมีย กลีบรองกลีบดอกมีจำนวน และลักษณะเหมือนดอกเพศผู้ ไม่มีกลีบดอกเช่นเดียวกัน รังไข่กลม เกลี้ยง ท่อรังไข่ปลายแยกเป็น 3 อัน และม้วน


การขยายพันธุ์ของต้นยายถีบหลาน
ใช้เมล็ด, ปักชำ
ธาตุอาหารหลักที่ต้นยายถีบหลานมต้องการ
ประโยชน์ของต้นยายถีบหลาน
ยอดอ่อนนำไปกินเป็นผักสด
สรรพคุณทางยาของต้นยายถีบหลาน
ใบอ่อน เป็นยาขับปัสสาวะ ขับเหงื่อ รักษาโรคหนองใน น้ำต้มใช้อาบป้องกันการติดเชื้อในทารกแรกเกิด
คุณค่าทางโภชนาการของต้นยายถีบหลาน
การแปรรูปของต้นยายถีบหลาน
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10177&SystemType=BEDO