ลักษณะประจำวงศ์
วงศ์บานไม่รู้โรย AMARANTHACEAE เป็นไม้ล้มลุกอายุ 1 ปีหรือหลายปี ลำต้นสีแดง ใบเดี่ยวออกเกรียงสลับลืมตรงข้ามขอบเรียบไม่มีหูใบดอกออกเป็นช่อแบบกระจุกแน่น ใบประกอบปลายแข็งเป็นหนาม ดอกมีทั้งสมบูรณ์เพศและแบบแยกเพศ ดอกย่อยสมมาตรตามรัศมีมี ใบประกอบบางและแห้งกรีดรวมมี 3-5 กลีบโคลนเชื่อมกันเนื้อค่อนข้างบางแห้งสีขาวชมพูหรือแดง เกสรเพศผู้มี 5 ติดตรงข้ามกรีกรวมก้านเกสรเพศผู้เชื่อมติดกันที่โคนเป็นท่อ อัปเรณูแตกตามยาวเกสรเพศเมียมี 2-3 คาร์เพล รังไข่ติดเหนือวงกลีบมี 1 ช่องมี 1 ออวุลใน 1 ช่องยอดเกสรเพศเมียมี 2-3 แฉก ผลเป็นผลกระเปาะเมื่อแก่แตกตามขวางเมล็ดกลมหรือเป็นรูปเลนส์
ลักษณะเด่นของวงศ์
วงศ์บานไม่รู้โรย ลักษณะวงศ์ เป็นไม้ล้มลุกลำต้นสีออกแดงช่อดอกแบบกระจุกแน่นดอกขนาดเล็ก มีใบประดับบางและแห้งรองรับกลีบรวมเนื้อค่อนข้างบางแห้ง ก้านเกสรเพศผู้เชื่อมติดกันเป็นท่อรังไข่ติดเหนือวงกลีบมี 1 ช่องมี 1 ออวุลใน 1 ช่องผลกระเปาะเมื่อแก่แตกตามขวาง
วงศ์ใกล้เคียง-ลักษณะที่แตกต่าง
- Chenopodiaceae ดอกไม่มีใบประดับเนื้อแห้งแข็ง กลีบรวมนุ่ม ใบบางและแห้ง ก้านเกสรเพศผู้แยกจากกัน ไม่มีเกสรเพศผู้เทียม
การกระจายพันธุ์
สกุลของบานไม่รู้โรย พบทั่วไปในโลกโดยเฉพาะในเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนในประเทศไทยมี 14 สกุลแยกกันเป็น 2 กลุ่มใหญ่โดยดูการเรียงของใบแบบออกเรียงสลับและออกตรงข้าม เช่น
- สกุล Celosia มี 1 ชนิด ได้แก่ หงอนไก่ไทย Celosia argentea L. ใบออกเรียงสลับ
- สกุล Gomphrena มี 2 ชนิด ได้แก่ บานไม่รู้โรย Gomphrena globosa L. บานไม่รู้โรยป่า Gomphrena celosioides Mart. ใบออกเรียงตรงข้าม
- สกุล Amaranthus เช่น ผักโขม Amaranthus lividus L. ผักโขมหนาม Amaranthus spinosus L. ใบออกเรียงสลับ
- สกุล Alternanthera เช่น ผักเป็ดแดง Alternanthera bettzickiana (Regel) G. Nicholson ผักเป็ดไทย Alternanthera sessilis (L.) DC. ใบออกเรียงตรงข้าม


สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับการเกษตร เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.dnp.go.th
ภาพประกอบ : www.flickr.com
วงศ์บานไม่รู้โรย ดอกมีขนาดเล็ก ดอกแบบกระจุกแน่น