บวบงู
ชื่ออื่นๆ : บวบงู (กลาง) นมพิจิตร (นครราชสีมา ตราด) นอยข้อง มะนอย (เหนือ) หมากนอย (สระบุรี).
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : บวบงู
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Trichosanthes cucumerina Linn
ชื่อวงศ์ : CUCURBITACEAE
ลักษณะของบวบงู
ต้น ไม้เถา ลำต้นเล็ก แตกกิ่งก้านสาขามาก มีขนนุ่ม และสั้นปกคลุม มือเกาะแยกเป็น 2-3 แขนง.
ใบ เดี่ยว เรียงสลับกัน รูปไข่กว้าง รูปไต หรือ รูป 5 เหลี่ยม กว้าง 12-18 ซม. ยาว 10-15 ซม. ขอบใบมีรอยเว้ามน 3-7 รอย โคนใบเว้า มีขนทั้งด้านบน และด้านล่าง ก้านใบยาว 10-15 ซม.
ดอก มีดอกเพศผู้ และดอกเพศเมียอยู่ต่างกัน. ดอกเพศผู้ ออกเป็นช่อ ก้านช่อยาว 10-25 ซม. ก้านดอกเล็ก ยาว 5-20 มม. กลีบรองกลีบดอกโคนเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็น 5 กลีบ ปลายกลีบแผ่กว้างกว่าโคนกลีบ มีขน กลีบดอก 5 กลีบ สีขาว รูปขอบขนาน มีเส้นมองเห็นชัดเจน 3 เส้น กลีบยาว 8-9 มม. เกสรผู้มี 3 อัน ก้านเกสรสั้น. ดอกเพศเมีย ออกเป็นดอกเดี่ยว ก้านดอกยาว 5-50 มม. กลีบรองกลีบดอกและกลีบดอก มีลักษณะเหมือนดอกเพศผู้ รังไข่รูปยาวปลายแหลม มีขน ท่อรังไข่เรียวยาว ภายในมีเพียง 1 ช่อง มีไขอ่อนจำนวนมาก.
ผล รูปทรงกระบอกยาว หัวและปลายแหลม ยาวได้ถึง 1 ม. เส้นผ่าศูนย์กลาง 3-4 ซม. สีขาวอมเขียวอ่อน ๆ มีลายสีเขียวเป็นทางยาว ผลมักบิด และคดงอ มีลักษณะคล้ายงู เมื่อแก่จัดจะเปลี่ยนเป็นสีส้ม. เมล็ด รูปไข่ แบน กว้างประมาณ 0.8 ซม. ยาว 1.2 ซม.


การขยายพันธุ์ของบวบงู
ใช้เมล็ด/นำเมล็ดมาเพาะ
ธาตุอาหารหลักที่บวบงูต้องการ
ประโยชน์ของบวบงู
ผล ผลอ่อนกินได้ เป็นยาบำรุงร่างกาย แก้กระหายน้ำ ระบาย ขับพยาธิ ทำให้อาเจียนและแก้ท่อน้ำดีอุดตัน
ผลบวบงู รูปทรงกระบอกยาว หัวและปลายแหลม
สรรพคุณทางยาของบวบงู
เมล็ด เนื้อเมล็ดกินเป็นยาเย็น ลดไข้และแก้ร้อนใน
คุณค่าทางโภชนาการของบวบงู
การแปรรูปของบวบงู
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10070&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com