สมัดใหญ่
ชื่ออื่นๆ : ขี้ผึ้ง แสนโศก (นครราชสีมา) ชะมัด (อุบลราธานี) เพี้ยฟาน หญ้าสาบฮิ้น หมี่ (เหนือ) มะหรุย (ใต้) ยม (ชุมพร) รุ้ย (กาญจนบุรี) สีสม หมอน้อย (กลาง ) สมัดใหญ่ หัสคุณโคก (เพชรบูรณ์) สามเสือ (ชลบุรี) สามโสก (จันทบุรี) สำรุย (ยะลา) หวดหม่อน (กลาง เหนือ) หัสคุณ อ้อยช้าง (สระบุรี)
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : สมัดใหญ่
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Clausena excavata Burm. f.
ชื่อวงศ์ : Rutaceae
ลักษณะของสมัดใหญ่
ไม้พุ่ม แตกกิ่งก้านสาขามาก สูง 1.5-4 เมตร ต้นส่วนมากสูงไม่เกิน 1 เมตร
เปลือก สีน้ำตาล ผิวเรียบ กิ่งก้านมีขนสั้นๆ ที่บริเวณปลายกิ่ง
ใบ ประกอบแบบขนนก เรียงแบบสลับ ใบย่อย 3-6 คู่ รูปรีหรือรูปหอก เห็นเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ใบไม่หนา สีเขียวอ่อน กว้าง 2-3 เซนติเมตร ยาว 5-8 เซนติเมตร ปลายใบแหลม ฐานใบเบี้ยว ขอบใบเรียบ มีซี่จักเล็กน้อย ใบมีขนนุ่มสีน้ำตาล ท้องใบมีขนบางๆ
ดอก ช่อ ออกที่ปลายกิ่งเป็นกระจุกแน่น เป็นช่อแบบแยกแขนง มีดอกย่อยจำนวนมาก กลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอก 5 กลีบ สีขาวปนเขียว เกสรเพศผู้มี 10 อัน
ผล กลมหรือรี หรือรูปกระสวย ขนาดเล็ก ผิวใสฉ่ำน้ำ ผลมีรสเปรี้ยวร้อน ผลอ่อนสีเขียวปนเหลือง ผลแก่สีส้มอมชมพู ออกดอกช่วงเดือนเมษายนถึงมิถุนายน พบตามป่าดงดิบ ป่าละเมาะ


การขยายพันธุ์ของสมัดใหญ่
ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่สมัดใหญ่ต้องการ
ประโยชน์ของสมัดใหญ่
–
สรรพคุณทางยาของสมัดใหญ่
ราก ฝนกับน้ำดื่ม แก้โรคงูสวัด ทั้งต้น ต้มน้ำกลั้วปาก แก้ปวดฟัน
–คุณค่าทางโภชนาการของสมัดใหญ่
การแปรรูปของสมัดใหญ่
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9957&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com/